วันชุงฮุง วันเริ่มไหว้บรรพบุรุษ
แน่นอนว่าหลายครอบครัวเชื้อสายจีนต่างมีโอกาสไปไหว้เชงเม้งกันบ้างแล้ว แม้ว่าตามปฏิทินจีนจะตรงกับวันที่ 5 เม.ย. ทุกปีก็ตาม เพื่อหลีกเลี่ยงการชุลมุนวุ่นวาย การจราจรที่ติดขัด และแดดที่ร้อนจ้าขึ้นทุกวันๆ โดยในปีนี้สามารถไหว้บรรพบุรุษที่สุสานในเทศกาลเชงเม้งได้ตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค. เป็นต้นมา ซึ่งถือว่าเป็น ‘วันชุนฮุน หรือ ชุงฮุง’ อันมีความเชื่อกันว่า เป็นวันที่ประตูสวรรค์ได้เปิดให้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษลงมาเยี่ยมลูกหลานอีกครั้งหนึ่ง
เช็งเม้งปีนี้เริ่มแล้วตั้งแต่วันที่20 มีค. ที่ผ่านมา วันเช็งเม้งถือเป็นหนึ่งใน
เทศกาล(โจ๊ยะ) ของชาวจีน เริ่มตั้งแต่ วันชุงฮุง 春 分 หรือวันที่อยู่กึ่งกลาง
ของฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งอากาศจะสดใสต้นไม้จะผลิใบออกเขียวชะอุมเต็มที่เหมาะ
กับการเดินทางนั้นเอง
ชาวจีนถือว่าเราสามารถไปเช็งเม้งได้นับจากวันชุงฮุง ในช่วงปลายๆเดือนสอง
(จันทรคติ) บางความเชื่อถือว่าประตูภพภูมิเริ่มเปิดแล้วไปจวบกลางเดือนสาม
ถือเป็นวันสิ้นสุดเทศกาลเช็งเม้ง
บุตรหลานกตัญญูปัดกวาดสุสาน
เส้าหมอ (扫墓 Sǎomù ) คือการทำความสะอาดซ่อมแซมสุสาน ชาวจีนเชื่อกััน
ว่าฮวงจุ้ยจะทำการซ่อมปรับปรุงได้เฉพาะช่วงเช็งเม้งนี้เท่านั้น แต่เดิมนั้นลูกหลาน
จะต้องไปทำการเก็บกวาดทำความสะอาดสุสาน ปลูกหญ้าทดแทนที่โรยราไป
ทาสีป้ายเสา ฯลฯที่ซีดจางไป ฯลฯ ปัจจุบันนี้นิยมจ้างคนดูแลสุสานให้ดำเนินการ
ดูแลเป็นรายปีๆไป ซึ่งก็สะดวกดี...
การที่สุสาน มีหญ้าตายไปไม่ได้ปลูกทดแทน หรือ เนินดินหลังเต่าพร่อง, ขอบปูน
แตกเสียหายแล้วไม่ซ่อมแซมนั้นถือเป็นการกระทบกับฮวงจุ้ยโดยเฉพาะเนินดิน
หลังเต่าจะส่งผลด้านการค้า...
หมายเหตุผู้เขียน.. ฮวงจุ้ยจะปลูกเฉพาะหญ้าบนเนินดิน ไม่นิยมปลูกดอกไม้
เพราะมีผลด้านชู้สาวของบุตรหลาน
เริ่มด้วยไหว้โถวตี่เอี่ย (土地爺) หรือพระภูมิรักษ์
พอมีการบำรุงรักษาฮวงจุ้ยเสร็จ บุตรหลานจนัดแนะกันไปไหว้เช็งเม้งกันพร้อม
เพรียง จะแยกไหว้ก็เฉพาะกรณีจำเป็นจริงๆเท่านั้น เมื่อเราไปถึงสุสานจุดแรก
ที่ต้องไปไหว้ก่อนคือ บริเวณศาลโถวตี่เอี่ย
โดยเราจะต้องนำไต้กิก หรือส้มน้ำชา ฯลฯไหว้ทีกง (ฟ้าดิน) ก่อนเสมอ จากนั้น
ค่อยเข้าไปในศาลโถวตี่เพื่อ จัดชุดไหว้ท่าน โถวตี ซึ่งท่านคือเทพารักษ์ผู้ปกปักษ์
รักษาบริเวณนั้นๆ นั้นเองครับ
เจี๊ยะโหล่วเกี้ย (ขออนุญาติเดินผ่านทาง)
หลังจาก เผากระดาษเงินทอง (งึงเตี๊ยะ) และลาท่านแล้วลูกหลานถึงจะไปที่
สุสานๆ โดยทั่วไปจะมีระเบียบผังเรียบร้อย โดยจะมีเสาหลักหินกำกับแถว
และโซนเสร็จ หน้าที่เราๆท่านๆคือต้องจดจำหรือแนะนำให้จดเลขหลักไว้ให้ดี
จะได้ไม่สับสนในปีถัดๆๆไป ข้อพึงระวังในการที่เราจะเดินผ่านสุสานเข้าไปนั้น
ให้บอกกล่าว(ด้วยปากเปล่า) กับเจ้าของสุสานอื่นๆที่เราเดินผ่านว่าขอเรายืมเดิน
ผ่านทางท่าน และพึงสำรวมด้วยครับ...
แซกี และ ฮกกี
ชาวจีนรุ่นคุณพ่อเราๆท่านๆ นิยมตระเวนหาฮวงจุ้ยตั้งแต่ช่วงๆแซยิดใหญ่ เรา
เรียกว่าแซกี นัยว่าเพื่อเป็นการคุ้มครองชะตาตนเองให้สุขภาพแข็งแรง และ
ถือเป็นการสร้างมงคล !! แปลกที่ประสบการณ์ข้าพเจ้าที่พบๆมาหลายท่านที่
สุขภาพไม่ค่อยดี พอได้แซกี ดีดี การณ์ปรากฎว่า หายวันหายคืนสุขภาพแข็ง
แรง อย่างน่าประหลาดใจ แซกี โดยสรุปคือฮวงจุ้ยของท่านผู้ยังไม่วายชนม์
สังเกตง่ายๆอักษรชื่อจะลงสีแดง นั้นเอง อีกประการ หากฮวงจุ้ยใดเกลี้ยงๆ
ไม่มีการจารสลักหิน นั้นก็คือแซกี เช่นกันครับ.. ส่วนฮกกี นั้น คือฮวงจุ้ย
ของผู้วายชนม์จะมีการสลักหิน(พ่ะเจี๊ยะ) สลักจารอักษรนามเป็นสีเขียว
หรือบางท้องถิ่นจะใช้สีเขียวขลิบทอง เมื่อก่อนกรุงเทพจะมีร้านสลักหิน
มากมายซึ่งหาชมยากแล้วในปัจจุบัน ...
สักการะพระภูมิเจ้าที่
ก่อนที่เราจะเซ่นไหว้บรรพชนเราต้องเตรียมของไหว้ พระภูมิเจ้าที่ โดยเราต้อง
จัดไหว้บริเวณ ปีกซ้ายมือตำแหน่ง มังกรเขียว (ดูรายละเอียดตำแหน่งในช่วง
ท้าย) แล้วถึงเริ่มเตรียมเซ่นไหว้บรรพชนเราได้ครับ
กรณีเป็นฮวงจุ้ยแบบ "คู่" เราจะใช้ด้ายแดง แบ่ง ด้านที่ยังไม่วายชนม์
ภาพแสดงการโปรยดอกไม้บนเนินหลุม
โปรยดอกไม้ที่เนินเต่า
แต่เดิมนั้นหลังจากเราทำความสะอาดสุสานแล้วคนจีนโบราณจะนำกระดาษห้าสี
มาวางที่เนินหลังเต่าแล้วทับด้วยก้อนหินและปักด้วย กิ่งหลิว เพื่อเป็นการบ่ง
บอกว่าลูกหลานได้มาทำความสะอาดแล้ว ต่อมาความเชื่อนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป
เราจะมีการแสดงสัญญลักษณ์ว่าลูกหลานได้มาไหว้แล้ว โดยการโปรยด้วยสายรุ้ง
กระดาษ รุ้งกระดาษสีแดง จะใช้กับ แซกี (ยังมีชีวิต) ส่วน ฮกกี จะใช้สีหลาก
สี โดย บางครอบครัว จะปักสายรุ้งด้วยไม้ บนเนิน ซึ่งตามหลักฮวงจุ้ยห้ามทำการ
ปักไม้ที่เนินหลุ่มครับ แต่สามารถโปรยได้ ซึ่งจะควบคู่กับการโปรยดอกไม้
พวก สีเหลือง สีขาวเช่น มะลิ, ดอกดาวเรือง สำหรับฮกกี(วายชนม์)
ส่วนแซกี (ยังมีชีวิต) จะใช้ดอกไม้สีแดงพวก กุหลาบ เป็นต้น
ทำไมต้องเซ่นไหว้ด้วยหอยแครง?
ของเซ่นไหว้จะแยกเป็น ข้าว (หน้าสุด) ของคาว(เรียงด้านหน้า) ของหวาน
(ด้านหลัง) หนึ่งในนั้นจะมีหอยแครงลวก ซึ่งมีความเชื่อมาจากเรื่อง24
กตัญญู( 二十四孝故事 ยี่จับสี่ห้าวโก้วสือ) ตอนหนึ่งกล่าวถึงบุตรกำพร้า
พลัดพรากพ่อแม่แต่เล็ก ครั้นเจริญรุ่งเรืองเป็นเศรษฐี ท่านอยากพบเห็นหน้าพ่อแม่
ผู้ที่คาดว่าล่วงลับไปแล้วสักหน เทพมานิมิตบอกให้เขาว่าวันที่ไปไหว้เช็งเม้ง ให้
เตรียมหอยแครงลวกไปเซ่นไหว้ และให้ทานที่หน้าฮวงจุ้ย(หลุ่มเปล่า) การแกะ
หอยแครง เราจะพบเนื้อหอยข้างใน คนจีนจะเรียกว่า"กุ๊กเน็กเซี่ยงเกี่ยง" หรือ
กุ๊กเน็กเซียงหวย หมายถึง พ่อแม่(ที่เป็นกระดูกหรือเปลือกหอย) ได้พบกับบุตร
(ที่เป็นเนื้อหอย) นั้นเองครับ ครั้นพอตกดึกเศรษฐีท่านนั้นก็ฝันว่าพ่อแม่ได้มา
เยี่ยมพร้อมอวยพรให้เขาเจริญยิ่งๆ ซึ่งถือเป็นมงคล
ด้วยความเชื่อนี้ทำให้หอยแครง จึงเป็นเมนูที่คนจีนนิยมใช้ไหว้ช่วงเช็งเม้ง นัยยะ
เพื่อความรุ่งเรืองก้าวหน้าและคนจีนนิยมนำเปลือกหอยแครงที่ทานแล้ว บ้างก็
โปรยที่เนินเต่า ซึ่งหมายถึง ฮัมฮะ หรือ ฮำฮะ หมายความว่า ลูกหลานล้วนมา
ถ้วนทั่วแล้ว ส่วนที่นิยมโปรยที่ลานด้านหน้า นั้นไม่ควรทำ เพราะฮวงจุ้ยลานหน้า
ต้องสะอาดและโล่ง นั้นเอง (ดูหมายเหตุสอง)
เต็กอุ๊ย ไผ่ล้อม ..
ก่อนลาของไหว้ เราต้องลาในส่วนกระดาษเซ่นไหว้นำมาทำการเผา โดยเราจะนำ
ไผ่ที่ปอกเป็นแถบยาวมัดเป็นขด เราเรียกว่า เต็กอุ๊ย หรือไผ่ล้อม เพื่อนำมาล้อม
กำหนดขอบเขตกระดาษไหว้ของเราเป็นการเฉพาะแด่บรรพบุรษ และบางท้องถิ่น
ระหว่างที่เผากระดาษไหว้ลูกหลานจะช้ไม่ไผ่รวกเดินเคาะรอบๆ บริเวณนั้น
ครั้นเสร็จสรรพก็จบลงด้วยการจุดประทัดเพื่อขับไล่สิ่งอัปมงคล เป็นอันเสร็จพิธี
ที่เหลือคือร่วมดื่มทานอาหารที่ลานด้านหน้าโดยพร้อมเพรียง ร่วมกับบรรพบุรุษ
(เจ้าของบ้าน) ...
คนชอบตัวเลข นิยมดูแถบแพร ที่คลี่ออกหลังจากประทัดนัดสุดท้ายระเบิด แม่นไม่แนก็ว่ากันไป..
อิ๊ก เต็ก 德 หยี่ เฮง ซา ฮวงจุ้ย 风水
คนจีนให้ความสำคัญลำดับแรก คือเรื่อง"คุณธรรม" ถัดมาคือ โชคหรือเฮง
สังเกตร้านค้าคำว่าเฮงล้ง จะเป็นคำยอดฮิตมากๆ ลำดับสามคือ ฮวงจุ้ยๆ
แยกเป็นศาสตร์ที่อยู่อาศัยหรือฮวงจุ้ยคนเป็น และ ฮวงจุ้ยคนตาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น
การใช้พื้นฐานและความเชื่อเรื่องมงคลทิศ เทพเทวบาลคุ้มครองทิศจะมีธาตุ
ประจำ การส่งผล ล้วนไม่แตกต่างกันแต่ประการใดครับ
ฮวงจุ้ย จะมีทิศต่างๆประกอบได้ดั่งนี้
ทิศเหนือ ธาตุไฟ เทวบาล คือ หงส์แดง(จูฉก) เป็นทิศเกี่ยวกับ ครอบครัว
ต้องกว้าง สะอาดและโล่ง สีประจำธาตุคือสีแดง
ทิศใต้ ธาตุน้ำ เทวบาล คือ เต่าดำ(สัตว์โบราณ คล้ายเต่าผสมงูมีเกล็ด) เป็น
ทิศเกี่ยวกับโชคลาภและคนสนับสนุน ชัยภูมิ ต้องสูงกว่าด้าหน้า
จึงทำเป็นเนินนูนหลังเต่าสูง คนจีนมีสำนวนว่า "เอ่าเปี๊ยะซัว" หลัง
พิงภูเขาหมายถึง มีคนหนุนหลังที่ปึ๊กแน่น นั้นเอง.. เนินเต่านิยม
ปลูกหญ้าเท่านั้นห้ามปลูกดอกไม้เพราะจะมีข่าวไม่ดีเรื่องชู้สาว
สีประจำธาตุคือ สีดำ
ทิศตะวันออก ธาตุไม้ เทวบาล คือ มังกรเขียว(แชเล้ง 青龙) เป็นทิศที่ส่งผล
เกี่ยวกับลูกหลาน ฝ่ายชาย สีประจำธาตุคือสีเขียว
ทิศตะวันตก ธาตุทอง เทวบาล คือเสือขาว (แป๊ะโฮ้ว 白虎) เป็นทิศที่ส่งผล
เกี่ยวกับลูกหลาน ฝ่าย หญิงสีประจำธาตุ คือสีขาว
หมายเหตุ
หมายเหตุข้อหนึ่ง
เครื่องมงคลตัวแทนเทพมงคล มีดังนี้
1.บี้เต้า หรือ ทะนาน สัดตวงข้าวของจีนมีทั้งแบบเหลี่ยมและแบบกลม
เฉพาะ การนี้ใช้แบบกลม หมายถึงจักรภพหรือสวรรค์
2.เต็งโห้ย หรือ ตะเกียง ความโชติช่วงของดวงไฟจากตะเกียงเป็นสัญลักษณ์
แทนแสงสว่างของพระอาทิตย์ พระจันทร์และดวงดาว เรียก ปักเต้าแชโห้ย
3.บี้ หรือ ข้าวสาร เป็นสัญลักษณ์แทนดวงดาวทั้งหลายในจักรวาล ธัญญาหาร
ทั้งห้าบริบูรณ์
4.โป๊ยชุงเช็ก หรือ ไม้บรรทัด เป็นสัญลักษณ์แทน แชเหล็ง หรือ มังกรเขียว
ธาตุไม้ ทั้งสี่ฤดูไม่มีภัยพิบัติ เทศกาลทั้งแปดล้วนสุขสันต์
5.เฉ่ง หรือ คันชั่ง เป็นสัญลักษณ์แทน แปะโฮ้ว หรือ เสือขาว ธาตุทอง เพราะ
ตาชั่งมีโลหะเป็นส่วนประกอบ หมายถึงความเที่ยงตรง คำว่าตราชั่งมีส่วนของ
คำในภาษาจีนกลางออกเสียงตรงกับคำว่า เป๋ง แปลว่าความสงบสุข จึงหมาย
ถึงใต้หล้าสงบสุข
6.เจี๋ยนตอ(กาตอ) หรือ กรรไกร เป็นสัญลักษณ์แทน จูฉก หรือ วิหคแดง ธาตุไฟ
เพราะกรรไกรเหมือนปากนก เป็นสัญลักษณ์ตัดสิ่งอัปมงคล กรรไกรยังมีความ
หมายถึงครอบครัว
7.เก้งจื้อ หรือ กระจกเงา เป็นสัญลักษณ์แทน เหียนบู๊ หรือ เต่าดำ ธาตุน้ำ เพราะ
กระจกมีสัณฐานแทนกระดองเต่า สะท้อนแสงของกระจก หมายความว่าส่อง
สว่างขับไล่สิ่งชั่วร้าย ความกลมของกระจกหมายถึงความอุดมสมบูรณ์
พร้อมหน้า
8.ซึ่งปั้ว หรือ ลูกคิด หมายถึงความเที่ยงตรง เที่ยงธรรม เป็นกลาง เพราะลูกคิด
จะให้ผลลัพธ์เท่ากันเสมอ ทั้งยังหมายถึงกิจการค้าเจริญรุ่งเรือง
9.หม่อปิ๊ก หรือ พู่กัน หมายถึงสัญลักษณ์ของการเรียน อวยพรให้การศึกษา
เล่าเรียนก้าวหน้า
10.กั้นหยั่น เกี่ยม หรือ กระบี่ เป็นสัญลักษณ์อาวุธปราบมารร้าย
11.เหนี่ยวสั่ว หรือ สัปทน ร่ม เป็นสัญลักษณ์ของบารมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องบนคุ้ม
ครองรักษา
(แก้ไขเสียงแต้จิ๋ว เอกสารเดิม จากเวป ถือศีลกินผักจังหวัดตรัง ขอขอบคุณ )
เชิญรับฟังรายละเอียดในเนื้อหาจากผู้เขียน จากเทปรายการสนทนาภาษาดนตรี
หมายเหตุข้อสอง
บางท้องถิ่นก็ไม่นิยมไหว้ด้วยหอยแครงเพราะคำว่าแกะ(แปะ) ไปพ้องกับคำว่า
"ทะเลาะ" แป๊ะแจ่ นั้นเอง...
|