HOME SAFE กับวิถีมังกร (ประวัติความเป็นมา วันชุงฮุง วันเริ่มไหว้บรรพบุรุษ และ วันเชงเม้ง – ทำไมต้องโปรยเปลือกหอยแครง ?)



วันชุงฮุง วันเริ่มไหว้บรรพบุรุษ

แน่นอนว่าหลายครอบครัวเชื้อสายจีนต่างมีโอกาสไปไหว้เชงเม้งกันบ้างแล้ว แม้ว่าตามปฏิทินจีนจะตรงกับวันที่ 5 เม.ย. ทุกปีก็ตาม เพื่อหลีกเลี่ยงการชุลมุนวุ่นวาย การจราจรที่ติดขัด และแดดที่ร้อนจ้าขึ้นทุกวันๆ โดยในปีนี้สามารถไหว้บรรพบุรุษที่สุสานในเทศกาลเชงเม้งได้ตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค. เป็นต้นมา ซึ่งถือว่าเป็น ‘วันชุนฮุน หรือ ชุงฮุง’ อันมีความเชื่อกันว่า เป็นวันที่ประตูสวรรค์ได้เปิดให้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษลงมาเยี่ยมลูกหลานอีกครั้งหนึ่ง



เช็งเม้งปีนี้เริ่มแล้วตั้งแต่วันที่20 มีค. ที่ผ่านมา วันเช็งเม้งถือเป็นหนึ่งใน
เทศกาล(โจ๊ยะ) ของชาวจีน เริ่มตั้งแต่ วันชุงฮุง 春 分 หรือวันที่อยู่กึ่งกลาง
ของฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งอากาศจะสดใสต้นไม้จะผลิใบออกเขียวชะอุมเต็มที่เหมาะ
กับการเดินทางนั้นเอง
ชาวจีนถือว่าเราสามารถไปเช็งเม้งได้นับจากวันชุงฮุง ในช่วงปลายๆเดือนสอง
(จันทรคติ) บางความเชื่อถือว่าประตูภพภูมิเริ่มเปิดแล้วไปจวบกลางเดือนสาม
ถือเป็นวันสิ้นสุดเทศกาลเช็งเม้ง
บุตรหลานกตัญญูปัดกวาดสุสาน
เส้าหมอ (扫墓 Sǎomù ) คือการทำความสะอาดซ่อมแซมสุสาน ชาวจีนเชื่อกััน
ว่าฮวงจุ้ยจะทำการซ่อมปรับปรุงได้เฉพาะช่วงเช็งเม้งนี้เท่านั้น แต่เดิมนั้นลูกหลาน
จะต้องไปทำการเก็บกวาดทำความสะอาดสุสาน ปลูกหญ้าทดแทนที่โรยราไป
ทาสีป้ายเสา ฯลฯที่ซีดจางไป ฯลฯ ปัจจุบันนี้นิยมจ้างคนดูแลสุสานให้ดำเนินการ
ดูแลเป็นรายปีๆไป ซึ่งก็สะดวกดี...
การที่สุสาน มีหญ้าตายไปไม่ได้ปลูกทดแทน หรือ เนินดินหลังเต่าพร่อง, ขอบปูน
แตกเสียหายแล้วไม่ซ่อมแซมนั้นถือเป็นการกระทบกับฮวงจุ้ยโดยเฉพาะเนินดิน
หลังเต่าจะส่งผลด้านการค้า...
หมายเหตุผู้เขียน.. ฮวงจุ้ยจะปลูกเฉพาะหญ้าบนเนินดิน ไม่นิยมปลูกดอกไม้
เพราะมีผลด้านชู้สาวของบุตรหลาน
เริ่มด้วยไหว้โถวตี่เอี่ย (土地爺) หรือพระภูมิรักษ์
พอมีการบำรุงรักษาฮวงจุ้ยเสร็จ บุตรหลานจนัดแนะกันไปไหว้เช็งเม้งกันพร้อม
เพรียง จะแยกไหว้ก็เฉพาะกรณีจำเป็นจริงๆเท่านั้น เมื่อเราไปถึงสุสานจุดแรก
ที่ต้องไปไหว้ก่อนคือ บริเวณศาลโถวตี่เอี่ย
โดยเราจะต้องนำไต้กิก หรือส้มน้ำชา ฯลฯไหว้ทีกง (ฟ้าดิน) ก่อนเสมอ จากนั้น
ค่อยเข้าไปในศาลโถวตี่เพื่อ จัดชุดไหว้ท่าน โถวตี ซึ่งท่านคือเทพารักษ์ผู้ปกปักษ์
รักษาบริเวณนั้นๆ นั้นเองครับ
เจี๊ยะโหล่วเกี้ย (ขออนุญาติเดินผ่านทาง)
หลังจาก เผากระดาษเงินทอง (งึงเตี๊ยะ) และลาท่านแล้วลูกหลานถึงจะไปที่
สุสานๆ โดยทั่วไปจะมีระเบียบผังเรียบร้อย โดยจะมีเสาหลักหินกำกับแถว
และโซนเสร็จ หน้าที่เราๆท่านๆคือต้องจดจำหรือแนะนำให้จดเลขหลักไว้ให้ดี
จะได้ไม่สับสนในปีถัดๆๆไป  ข้อพึงระวังในการที่เราจะเดินผ่านสุสานเข้าไปนั้น
ให้บอกกล่าว(ด้วยปากเปล่า) กับเจ้าของสุสานอื่นๆที่เราเดินผ่านว่าขอเรายืมเดิน
ผ่านทางท่าน และพึงสำรวมด้วยครับ...
แซกี และ ฮกกี
ชาวจีนรุ่นคุณพ่อเราๆท่านๆ นิยมตระเวนหาฮวงจุ้ยตั้งแต่ช่วงๆแซยิดใหญ่ เรา
เรียกว่าแซกี นัยว่าเพื่อเป็นการคุ้มครองชะตาตนเองให้สุขภาพแข็งแรง และ
ถือเป็นการสร้างมงคล !!  แปลกที่ประสบการณ์ข้าพเจ้าที่พบๆมาหลายท่านที่
สุขภาพไม่ค่อยดี พอได้แซกี ดีดี การณ์ปรากฎว่า หายวันหายคืนสุขภาพแข็ง
แรง อย่างน่าประหลาดใจ แซกี โดยสรุปคือฮวงจุ้ยของท่านผู้ยังไม่วายชนม์
สังเกตง่ายๆอักษรชื่อจะลงสีแดง นั้นเอง อีกประการ หากฮวงจุ้ยใดเกลี้ยงๆ
ไม่มีการจารสลักหิน นั้นก็คือแซกี เช่นกันครับ.. ส่วนฮกกี นั้น คือฮวงจุ้ย
ของผู้วายชนม์จะมีการสลักหิน(พ่ะเจี๊ยะ) สลักจารอักษรนามเป็นสีเขียว
หรือบางท้องถิ่นจะใช้สีเขียวขลิบทอง เมื่อก่อนกรุงเทพจะมีร้านสลักหิน
มากมายซึ่งหาชมยากแล้วในปัจจุบัน ...
สักการะพระภูมิเจ้าที่
ก่อนที่เราจะเซ่นไหว้บรรพชนเราต้องเตรียมของไหว้ พระภูมิเจ้าที่ โดยเราต้อง
จัดไหว้บริเวณ ปีกซ้ายมือตำแหน่ง มังกรเขียว (ดูรายละเอียดตำแหน่งในช่วง
ท้าย) แล้วถึงเริ่มเตรียมเซ่นไหว้บรรพชนเราได้ครับ
กรณีเป็นฮวงจุ้ยแบบ "คู่" เราจะใช้ด้ายแดง แบ่ง ด้านที่ยังไม่วายชนม์
ภาพแสดงการโปรยดอกไม้บนเนินหลุม
โปรยดอกไม้ที่เนินเต่า
แต่เดิมนั้นหลังจากเราทำความสะอาดสุสานแล้วคนจีนโบราณจะนำกระดาษห้าสี
มาวางที่เนินหลังเต่าแล้วทับด้วยก้อนหินและปักด้วย กิ่งหลิว เพื่อเป็นการบ่ง
บอกว่าลูกหลานได้มาทำความสะอาดแล้ว ต่อมาความเชื่อนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป
เราจะมีการแสดงสัญญลักษณ์ว่าลูกหลานได้มาไหว้แล้ว โดยการโปรยด้วยสายรุ้ง
กระดาษ รุ้งกระดาษสีแดง จะใช้กับ แซกี (ยังมีชีวิต) ส่วน ฮกกี จะใช้สีหลาก
สี โดย บางครอบครัว จะปักสายรุ้งด้วยไม้ บนเนิน ซึ่งตามหลักฮวงจุ้ยห้ามทำการ
ปักไม้ที่เนินหลุ่มครับ แต่สามารถโปรยได้ ซึ่งจะควบคู่กับการโปรยดอกไม้
พวก สีเหลือง สีขาวเช่น มะลิ, ดอกดาวเรือง สำหรับฮกกี(วายชนม์)
ส่วนแซกี (ยังมีชีวิต) จะใช้ดอกไม้สีแดงพวก กุหลาบ เป็นต้น
ทำไมต้องเซ่นไหว้ด้วยหอยแครง?
ของเซ่นไหว้จะแยกเป็น ข้าว (หน้าสุด) ของคาว(เรียงด้านหน้า) ของหวาน
(ด้านหลัง) หนึ่งในนั้นจะมีหอยแครงลวก ซึ่งมีความเชื่อมาจากเรื่อง24
กตัญญู( 二十四孝故事 ยี่จับสี่ห้าวโก้วสือ) ตอนหนึ่งกล่าวถึงบุตรกำพร้า
พลัดพรากพ่อแม่แต่เล็ก ครั้นเจริญรุ่งเรืองเป็นเศรษฐี ท่านอยากพบเห็นหน้าพ่อแม่
ผู้ที่คาดว่าล่วงลับไปแล้วสักหน เทพมานิมิตบอกให้เขาว่าวันที่ไปไหว้เช็งเม้ง ให้
เตรียมหอยแครงลวกไปเซ่นไหว้ และให้ทานที่หน้าฮวงจุ้ย(หลุ่มเปล่า) การแกะ
หอยแครง เราจะพบเนื้อหอยข้างใน คนจีนจะเรียกว่า"กุ๊กเน็กเซี่ยงเกี่ยง" หรือ
กุ๊กเน็กเซียงหวย หมายถึง พ่อแม่(ที่เป็นกระดูกหรือเปลือกหอย) ได้พบกับบุตร
(ที่เป็นเนื้อหอย) นั้นเองครับ ครั้นพอตกดึกเศรษฐีท่านนั้นก็ฝันว่าพ่อแม่ได้มา
เยี่ยมพร้อมอวยพรให้เขาเจริญยิ่งๆ ซึ่งถือเป็นมงคล 
ด้วยความเชื่อนี้ทำให้หอยแครง จึงเป็นเมนูที่คนจีนนิยมใช้ไหว้ช่วงเช็งเม้ง นัยยะ
เพื่อความรุ่งเรืองก้าวหน้าและคนจีนนิยมนำเปลือกหอยแครงที่ทานแล้ว บ้างก็
โปรยที่เนินเต่า ซึ่งหมายถึง ฮัมฮะ หรือ ฮำฮะ หมายความว่า ลูกหลานล้วนมา
ถ้วนทั่วแล้ว ส่วนที่นิยมโปรยที่ลานด้านหน้า นั้นไม่ควรทำ เพราะฮวงจุ้ยลานหน้า
ต้องสะอาดและโล่ง นั้นเอง (ดูหมายเหตุสอง)
เต็กอุ๊ย ไผ่ล้อม ..
ก่อนลาของไหว้ เราต้องลาในส่วนกระดาษเซ่นไหว้นำมาทำการเผา โดยเราจะนำ
ไผ่ที่ปอกเป็นแถบยาวมัดเป็นขด เราเรียกว่า เต็กอุ๊ย หรือไผ่ล้อม เพื่อนำมาล้อม
กำหนดขอบเขตกระดาษไหว้ของเราเป็นการเฉพาะแด่บรรพบุรษ และบางท้องถิ่น
ระหว่างที่เผากระดาษไหว้ลูกหลานจะช้ไม่ไผ่รวกเดินเคาะรอบๆ บริเวณนั้น
ครั้นเสร็จสรรพก็จบลงด้วยการจุดประทัดเพื่อขับไล่สิ่งอัปมงคล เป็นอันเสร็จพิธี
ที่เหลือคือร่วมดื่มทานอาหารที่ลานด้านหน้าโดยพร้อมเพรียง ร่วมกับบรรพบุรุษ
(เจ้าของบ้าน) ...
คนชอบตัวเลข นิยมดูแถบแพร ที่คลี่ออกหลังจากประทัดนัดสุดท้ายระเบิด แม่นไม่แนก็ว่ากันไป..
อิ๊ก เต็ก 德 หยี่ เฮง ซา ฮวงจุ้ย 风水
คนจีนให้ความสำคัญลำดับแรก คือเรื่อง"คุณธรรม" ถัดมาคือ โชคหรือเฮง
สังเกตร้านค้าคำว่าเฮงล้ง จะเป็นคำยอดฮิตมากๆ ลำดับสามคือ ฮวงจุ้ยๆ
แยกเป็นศาสตร์ที่อยู่อาศัยหรือฮวงจุ้ยคนเป็น และ ฮวงจุ้ยคนตาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น
การใช้พื้นฐานและความเชื่อเรื่องมงคลทิศ เทพเทวบาลคุ้มครองทิศจะมีธาตุ
ประจำ การส่งผล ล้วนไม่แตกต่างกันแต่ประการใดครับ
ฮวงจุ้ย จะมีทิศต่างๆประกอบได้ดั่งนี้
ทิศเหนือ ธาตุไฟ เทวบาล คือ หงส์แดง(จูฉก) เป็นทิศเกี่ยวกับ ครอบครัว
             ต้องกว้าง สะอาดและโล่ง สีประจำธาตุคือสีแดง
ทิศใต้ ธาตุน้ำ เทวบาล คือ เต่าดำ(สัตว์โบราณ คล้ายเต่าผสมงูมีเกล็ด) เป็น
         ทิศเกี่ยวกับโชคลาภและคนสนับสนุน ชัยภูมิ ต้องสูงกว่าด้าหน้า
         จึงทำเป็นเนินนูนหลังเต่าสูง คนจีนมีสำนวนว่า "เอ่าเปี๊ยะซัว" หลัง
         พิงภูเขาหมายถึง มีคนหนุนหลังที่ปึ๊กแน่น นั้นเอง.. เนินเต่านิยม
         ปลูกหญ้าเท่านั้นห้ามปลูกดอกไม้เพราะจะมีข่าวไม่ดีเรื่องชู้สาว
         สีประจำธาตุคือ สีดำ
ทิศตะวันออก ธาตุไม้ เทวบาล คือ มังกรเขียว(แชเล้ง 青龙) เป็นทิศที่ส่งผล
        เกี่ยวกับลูกหลาน ฝ่ายชาย  สีประจำธาตุคือสีเขียว
ทิศตะวันตก  ธาตุทอง เทวบาล คือเสือขาว (แป๊ะโฮ้ว 白虎) เป็นทิศที่ส่งผล
         เกี่ยวกับลูกหลาน ฝ่าย หญิงสีประจำธาตุ คือสีขาว
หมายเหตุ
หมายเหตุข้อหนึ่ง
เครื่องมงคลตัวแทนเทพมงคล มีดังนี้
1.บี้เต้า หรือ ทะนาน สัดตวงข้าวของจีนมีทั้งแบบเหลี่ยมและแบบกลม
  เฉพาะ การนี้ใช้แบบกลม หมายถึงจักรภพหรือสวรรค์
2.เต็งโห้ย หรือ ตะเกียง ความโชติช่วงของดวงไฟจากตะเกียงเป็นสัญลักษณ์
 แทนแสงสว่างของพระอาทิตย์ พระจันทร์และดวงดาว เรียก ปักเต้าแชโห้ย
3.บี้ หรือ ข้าวสาร เป็นสัญลักษณ์แทนดวงดาวทั้งหลายในจักรวาล ธัญญาหาร
   ทั้งห้าบริบูรณ์
4.โป๊ยชุงเช็ก หรือ ไม้บรรทัด เป็นสัญลักษณ์แทน แชเหล็ง หรือ มังกรเขียว
   ธาตุไม้ ทั้งสี่ฤดูไม่มีภัยพิบัติ เทศกาลทั้งแปดล้วนสุขสันต์
5.เฉ่ง หรือ คันชั่ง เป็นสัญลักษณ์แทน แปะโฮ้ว หรือ เสือขาว ธาตุทอง เพราะ
  ตาชั่งมีโลหะเป็นส่วนประกอบ หมายถึงความเที่ยงตรง คำว่าตราชั่งมีส่วนของ
  คำในภาษาจีนกลางออกเสียงตรงกับคำว่า เป๋ง แปลว่าความสงบสุข จึงหมาย
  ถึงใต้หล้าสงบสุข
6.เจี๋ยนตอ(กาตอ) หรือ กรรไกร เป็นสัญลักษณ์แทน จูฉก หรือ วิหคแดง ธาตุไฟ
  เพราะกรรไกรเหมือนปากนก เป็นสัญลักษณ์ตัดสิ่งอัปมงคล กรรไกรยังมีความ
  หมายถึงครอบครัว
7.เก้งจื้อ หรือ กระจกเงา เป็นสัญลักษณ์แทน เหียนบู๊ หรือ เต่าดำ ธาตุน้ำ เพราะ
  กระจกมีสัณฐานแทนกระดองเต่า สะท้อนแสงของกระจก หมายความว่าส่อง
  สว่างขับไล่สิ่งชั่วร้าย ความกลมของกระจกหมายถึงความอุดมสมบูรณ์
  พร้อมหน้า
8.ซึ่งปั้ว หรือ ลูกคิด หมายถึงความเที่ยงตรง เที่ยงธรรม เป็นกลาง เพราะลูกคิด
   จะให้ผลลัพธ์เท่ากันเสมอ ทั้งยังหมายถึงกิจการค้าเจริญรุ่งเรือง
9.หม่อปิ๊ก หรือ พู่กัน หมายถึงสัญลักษณ์ของการเรียน  อวยพรให้การศึกษา
   เล่าเรียนก้าวหน้า
10.กั้นหยั่น เกี่ยม หรือ กระบี่ เป็นสัญลักษณ์อาวุธปราบมารร้าย
11.เหนี่ยวสั่ว หรือ สัปทน ร่ม เป็นสัญลักษณ์ของบารมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องบนคุ้ม
    ครองรักษา
(แก้ไขเสียงแต้จิ๋ว เอกสารเดิม จากเวป ถือศีลกินผักจังหวัดตรัง ขอขอบคุณ )
เชิญรับฟังรายละเอียดในเนื้อหาจากผู้เขียน  จากเทปรายการสนทนาภาษาดนตรี
 หมายเหตุข้อสอง
บางท้องถิ่นก็ไม่นิยมไหว้ด้วยหอยแครงเพราะคำว่าแกะ(แปะ) ไปพ้องกับคำว่า
"ทะเลาะ" แป๊ะแจ่ นั้นเอง...

HOME SAFE กับวิถีมังกร (ประวัติความเป็นมา วันไหว้ขนมบัวลอย (วันตังโจ๊ย) )


วันไหว้ขนมบัวลอย (วันตังโจ๊ย)
วันไหว้ขนมบัวลอย (วันตังโจ๊ย)
 
        การไหว้สารทที่ 8 การไหว้ขนมอี้ หรือ ขนมบัวลอย เรียกว่าไหว้ตังโจ่ย เทศกาลนี้เรียกว่า เทศกาลตังจี่ (ตังโจ๊ย) หรือที่เรียกกันว่าสารทขนมอี๊
       มักตรงกับวันที่ 21 หรือ 22 ธันวาคม เป็นวัน “ตังโจ้ย” ( 冬 節 ) หรือเทศกาลกิน ” อี๊”( 圓 ) ขนมบัวลอย ผู้ที่ผ่านวันนี้ไปแล้วพึงจำไว้ ท่านมีอายุเพิ่มขึ้นอีก 1 ขวบ
        ” อี๊” ส่วนหนึ่งจะเอาไปติดไว้ตามตู้กับข้าว ผนัง ตามข้างเตาไฟ จุดอื่นในห้องครัวบ้าง ในช่วงนี้จนถึงสิ้นปี จะมีงิ้วแก้บน ที่เรียกว่า งิ้ว “ เสี่ยซิ้ง “ ( 謝 神 ) กันแทบทุกศาลเจ้า ศาลพระภูมิ หรือ โรงเจ
        หมายเหตุ : เหตุที่ต้องใช้เดือนของเทศประกอบเนื่องจากการคำนวณวัน “ตังโจ๊ย” ถือเอาวันที่เวลากลางวันสั้นที่สุดของปี ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นฤดูหนาวของประเทศจีน หรือประเทศซีกโลกทางเหนือ วันที่ที่กำหนดว่าเป็นวัน“ตังโจ๊ย” ให้ดูจากปี ค.ศ. ปีที่หารด้วย 4 ลงตัวหรือปีที่เดือน กุมภาพันธ์มี 29 วัน “ตังโจ๊ย” จะเป็นวันที่ 21 ธันวาคม
 

เทศกาลกับฤดูกาล

        (ขนมบัวลอย)กล่าวกันว่า ในวันเริ่มตังโจ๊ยนี้ พระอาทิตย์อยู่ทางทิศใต้สุดขั้ว เงาของพระอาทิตย์ยาวที่สุด ในสมัยโบราณจึ่งเรียกวัน ๆ นี้ว่า เฉี่ยงจี่ (สุดยาว) เป็นหลักการโคจรของพระอาทิตย์ ในแต่ละปี ภายหลังสารท ชิวฮุง พระอาทิตย์เริ่มเคลื่อนลงสู่ทางทิศใต้ ถึงเส้นแวงที่ 23 องศา 26 ลิปดา 59 พิลิปดา ดังนั้นทางขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ ดินฟ้าภูมิอากาศย่อมมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แสงแดดยามกลางวันนั้นสั้น แสงมืดแห่งยามราตรีนั้นยาว แต่ที่ทางขั้วโลกใต้นั้นกลับตรงกันข้าม วันตังโจ๊ย เป็นวันที่พระอาทิตย์อยู่ทางขั้วใต้สุด ๆ ดังนั้นวันตังจี่ ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า น่ำจี่ (สุดใต้) และเมื่อผ่านวัน ตังโจ๊ยล่วงไปแล้ว พระอาทิตย์ก็จะเริ่มโคจรตามปกติสู่ทางด้านทิศเหนือ วันเวลายามกลางวันก็จะเริ่มต้นยาวขึ้นตามลำดับ

      วัน ตังโจ๊ย จึงถือเป็นวันตายตัวของวันเหมายัน ในวันที่ 21, 22 หรือวันที่ 23 ธันวาคม ตามปฏิทินทางสุริยะคติสากล แต่ปฏิทินจีน ได้ใช้หลักตามจันทรคติ ดังนั้น เมื่อถือตามหลักของปฏิทินจีนวันตังโจ๊ย จึงไม่มีการตายตัวทุก ๆ ปี (ตังโจ๊ย ปีนี้ปฏิทินจีนเป็นวันที่ 22 เดือนที่ 11)
        อ่านเพิ่มเติมความรู้เรื่อง ฤดูกาลและปรากฎการณ์ดาราศาสตร์ ที่ : http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/24967/
 

เทศการการไหว้ขนมบัวลอย
 
       ในอดีตสาเหตุการไหว้เจ้าด้วยขนมบัวลอย เนื่องจากขนมนี้ทำมาจากแป้งข้าวเจ้า เมื่อปั้นเป็นลูกนำมารับประทานจะอยู่ท้องได้ดี ในช่วงอากาศหนาว ยิ่งตอนกลางคืน อากาศยิ่งหนาว หากกินอาหารที่ไม่อยู่ท้องจะทำให้รู้สึกหิว แล้วตื่นบ่อย ๆ ลมหนาวจะมาจากทิศเหนือทำให้คนทั่วไประลึกว่า อากาศหนาวเย็นแล้ว
       คนจีนจึงไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในช่วงเดือนนี้ เพื่อให้คุ้มครองสัตว์เลี้ยงแล้วพืชผลทางการเกษตรให้เพาะปลูกได้ดี และขอให้มีสุขภาพแข็งแรง อีกทั้งทำให้รับรู้ว่ากำลังจะหมดไปอีกปีหนึ่งแล้ว อายุมากขึ้น โตขึ้น ส่วนคนที่ยังดวงไม่ดี ถ้าไหว้เจ้าวันนี้ก็จะหมดเคราะห์จะได้พบกับปีใหม่ที่ดี บางแห่งเอาขนมอี๋ไปใช้ในพิธีแต่งงานโดยให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวกิน เพื่อเป็นสิริมงคล อายุมั่นขวัญยืน สามัคคีกลมเกลียวกัน
วิธีการไหว้
 
       สารทการไหว้ด้วยขนมบัวลอย จะตั้งโต๊ะเครื่องบวงสรวงไหว้ในบ้านหรือนอกบ้านก็ได้ แต่ตามหลักจีนโบราณจะตั้งโต๊ะเครื่องบวงสรวงนอกบ้าน โดยต้องตั้งเครื่องบวงสรวงไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบ้านก่อน จึงมาตั้งไหว้กลางแจ้งนอกบ้าน โดยอาจจุดธูป 3 ดอก 5 ดอก 10 ดอก
    เครื่องเซ่นไหว้ประกอบไปด้วย
- อาหาร 5 อย่าง
- ขนมบัวลอย 4 ถ้วย
- ผลไม้ 5 อย่าง
- น้ำชา 5 ถ้วย
- เครื่องบรรณาการต่าง ๆ
 
        ในสมัยโบราณ เมื่อถึงวันเทศกาลตังโจ๊ย คนจีนต่างให้ความสำคัญไม่แพ้วันตรุษจีน เพราะเป็นวันใกล้จะสิ้นปี ต่างกุลีกุจอเตรียมการการฉลองวันสิ้นปีและวันตรุษจีน ดั่งเช่นที่เมืองโซวจิว ชาวเมืองต่างตื่นกันแต่เช้า รีบ ๆ กันไปไหว้เจ้าที่ศาลเจ้าตังเก๊กเซี่ยอ่วงเบี่ย (ศาลเจ้าหลักเมือง) ร้านรวงค้าขายต่างหยุดกิจการ ชาวเมืองต่างพร้อมใจกันร่วมฉลองดั่งเช่นวันตรุษจีน
         มีคำกล่าวขวัญกันว่า ตังโจ๊ยท่วงจื้อ, นี่โจ๊ยกอ แปลว่า ตังโจ๊ย ฉลองขนม ท่วงจื้อ (เป็นขนมทรงกลมชนิดหนึ่ง), ตรุษจีนฉลองขนม กอ (ขนมโก๋) นี่เป็นธรรมเนียมทำขนมกินกันตามสารท
          แต่ตามพิธีการของคนจีนส่วนใหญ่ทั่วทั้งประเทศ ในวันตังโจ๊ยนี้ คนจีนทางภาคเหนือมักกินเกี๊ยวน้ำ ส่วนคนจีนทางภาคใต้มักกินขนมท่วงจื้อ ตามธรรมเนียมของคนจีนทางภาคใต้ ขนมท่วงจื้อ ซึ่งเป็นขนมรูปเม็ดทรงกลม ได้ถูกพัฒนามาเป็นขนม อี๊ (ขนมบัวลอย) ดั่งเช่นที่เห็น ๆ คนจีนส่วนใหญ่กินกันในประเทศไทย เพราะว่าขนม อี๊ (บัวลอย) รูปเม็ดทรงกลม คนจีนเชื่อกันว่า เมื่อกินขนมชนิดนี้ตอนเทศกาลวันตังโจ๊ย จะทำให้บุคคลในครอบครัว ต่างสมัครสมานรักใคร่กลมเกลียวกันยิ่ง ๆ ขึ้น แม้ในวันพิธีมงคลที่สำคัญ ๆ ต่าง ๆ ขนม อี๊ ย่อมเป็นที่ขาดเสียมิได้
           โดยปกติแล้ว คนจีนมีความเชื่อเกี่ยวกับความมงคลเป็นหลัก อย่างสีโทนแดง ชมพู พวกนี้จะเป็นสีมงคลของคนจีนครับ แล้วบัวลอยนั้นคนจีนจะสื่อคล้าย ๆ กับความสามัคคีกลมเกลียว ปกติแล้วเวลาไหว้เจ้า หรือมีงานมงคลต่างๆๆ อย่างงานแต่งงานก็จะมีบัวลอยด้วยเช่นกัน ก็เลยไม่แปลกที่บัวลอยเป็นหนึ่งในขนมมงคล

ขนมอี๊ หรือขนมอี๊
 
         ขนมอี๊ (ขนมหวานจีน) ขนมมงคล อีกชนิดหนึ่งของคนจีน ที่รับประทานเพื่อความเป็น สิริมงคล ในโอกาสสำคัญต่างๆ เช่น พิธีแต่งงาน ที่เชื่อว่า การทานขนมอี๊ จะทำให้คนทั้งสองนั้นรักใคร่กลมเลียว เหนียวแน่น รวมถึง เทศกาลตรุษจีนหรือเปิดกิจการใหม่
         อี๊ หรือ อี๊ แปลว่ากลม ๆ ขนมอี๊ทำจากแป้งข้าวเหนียว นวดจนได้ที่เจือสีชมพู ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ต้มกับน้ำตาล เพื่อให้ชีวิตเคี้ยวง่ายราบรื่น เหมือนขนมอี๊ที่เคี้ยวง่ายและหวานใส ซึ่งขนมอี๊นี้อาจใช้เป็น สาคู หรือลูกเดือยก็ได้ คนจีนแต้จิ๋วเรียกว่าอี๊เหมือนกัน
        ขนมอี๊ดั้งเดิม ทำจากแป้งข้าวเหนียวใส่น้ำนิดหน่อยเอามาปั้นเป็นรูปต่าง ๆ ตามท้องถิ่น แล้วเอาไปต้มน้ำเดือด ใส่น้ำตาลรับประทานขณะที่ร้อนเพื่อกันหนาวได้ เดิมคงไม่ได้ใส่สี คงเป็นสีขาว ต่อมาได้พัฒนาไปตามกาลเวลา ได้มีการใส่ไส้ทั้งหวานและคาว ส่วนตัวแป้งผสมสีให้เป็นแป้งสีต่าง ๆ เช่น สีเขียว แดง เหลือง ขาว แล้วเอามาปั้น ต้มน้ำเดือด
       ขนมอี๊แตกต่างกันไปตามภูมิภาคของจีน เมื่อคนจีนอพยพไปอยู่ยังประเทศอื่น ก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นขนมอี๊อยู่ ด้วยการดัดแปลงส่วนผสมไปตามท้องถิ่นใหม่ที่หาวัสดุการทำง่าย แต่ก็ยังรักษาวัฒนธรรมของขนมอี๊ นั่นก็คือ ใช้แป้งข้าวเหนียวเอามาปั้นเป็นพื้น
       ขนมอี๊ของชาวภูเก็ตจะไม่ใส่ไส้ มีแป้งข้าวเหนียว สีผสมอาหาร น้ำเชื่อมทำจากน้ำ น้ำตาลแดงหรือน้ำตาลทรายขาวต้มใส่ขิงแก่หั่นเป็นแว่น ใส่ใบเตยหอม ส่วนแป้งใส่น้ำอุ่นพอปั้นได้ แล้วแบ่งเป็นส่วนๆเพื่อเติมสีต่างๆ นวดให้นิ่ม ปั้นเป็นลูกกลม ทำแม่อี๊ที่เรียกว่า อี๊โบ้ โดยปั้นให้ลูกใหญ่กว่าลูกอื่นๆ ตั้งน้ำให้เดือด เอาแป้งปั้นใส่ลงไป แป้งสุกจะลอยขึ้น ช้อนใส่ลงในน้ำเชื่อม เวลาตักเอาไปไหว้จะตักอีโบ้ลูกหนึ่ง ที่เหลือลูกเล็กกี่ลูกก็ได้
       ขนมอี๊ใส่ไส้ ส่วนที่ทำไส้ มีงาดำบด แป้งถั่ว เมล็ดพืช ผลไม้แห้งชนิดต่างๆ เอาไส้รวมกัน ปั้นเป็นลูกเล็ก ทำแป้งข้าวเหนียวให้ปั้นได้ เอาไส้ใส่ปั้นเป็นลูกกลม เอาไปต้ม ทอด หรือนึ่ง
       ขนมอี๊แบบคนอยู่เมืองฝรั่ง ไส้มีงาดำบด ใส่เนย น้ำตาลและเหล้าไวน์ แบ่งแป้งเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเอารวมกับไส้แล้วต้มนิดหน่อย ปั้นเป็นลูกกลม เอาแป้งข้าวเหนียวอีกครึ่งหนึ่งผสมน้ำ ปั้นเป็นแผ่น เอาไปใส่ในน้ำเดือดจนสุก ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วปั้นเป็นลูกกลม เจาะรูเอาไส้ใส่ปั้นให้กลมอีกครั้ง ใส่ลงไปในน้ำเดือด จนลอยตัวสุก ทิ้งต่อไว้สักหนึ่งนาที แล้วช้อนขึ้น
      ขนมอี๊ใส่ไส้อีกสูตรหนึ่ง ไส้มีงาดำบด ถั่วแดงบด ถั่วลิสงบด ปั้นเป็นลูกกลมทำเช่นเดียวกันคือเอาแป้งข้าวเหนียวห่อแล้วเอาไปต้มน้ำเดือด ใส่ในน้ำเชื่อม จะเป็นของหวาน ถ้าจะทำเป็นของคาว ให้ใส่ลูกชิ้นหมูทำไส้ ต้มน้ำเดือดจนสุกแล้วสงขึ้น เอาไปใส่ในน้ำต้มกระดูกหมูหรือกระดูกไก่หรือน้ำซุป แต่วิธีนี้ใช้ทำกินเอง ไม่ได้เอาไปไหว้เจ้า เช่นเดียวกับบัวลอย ซึ่งก็คือขนมอี๊ใส่น้ำกะทิ บางแห่งใส่ไข่ด้วย เป็นของกินเล่นเท่านั้น
      ปกติแล้วเวลาไหว้เจ้าควรต้มแบบน้ำตาล ถ้านำมาไหว้ น้ำเชื่อมต้องไม่ใส่ขิง  แต่หลังจากไหว้แล้วเพื่อความอร่อยชุ่มคอ ชื่นใจ แม่จะนำขิงหั่นแฉลบเป็นชิ้นและนำใบเตยมาใส่ด้วย ทำให้ หอมและทานอร่อยยิ่งขึ้น

สูตรวิธีทำขนมอี๊
เวลาเตรียม 10 นาที ปรุง 15 นาที
สำหรับ 4 ท่าน

1. แป้งข้าวเหนียว 1/2 กิโลกรัม
2. สีผสมอาหาร สีชมพู 2 หยด
3. น้ำตาลทราย 1 ถ้วย
4. ขิงแก่ 4 แว่น
5. เกลือ 1/2 ช้อนชา
6. น้ำ 10 ถ้วย
วิธีปรุง 
1. ต้มน้ำเชื่อม โดยต้มน้ำ 5 ถ้วย ด้วยไฟกลาง ใส่น้ำตาลทราย เกลือและขิง ลงไป รอจนเดือด แล้วจึงยกลง
2. ปั้นแป้งขนม โดย นำแป้งใส่อ่างผสม เทน้ำและสีผสมอาหารชมพูที่ละลายน้ำเล็กน้อยลงไป นวดให้เนียนเข้ากัน (ให้แบ่งแป้งไว้ปั้น สีขาว ด้วย)
3. ปั้น ด้วยการคลึงเป็นลูกกลมๆ ขนาด เท่า หัวนิ้วก้อย หรือ 5 มิลลิเมตร วางบนถาด หรือภาชนะทรงแบน ทีมีแป้งข้าวเหนียว โรยเอาไว้กันแป้งติดกัน
4. ต้มน้ำจนเดือด ใส่แป้งที่ปั้นไว้ลงไปในหม้อต้ม รอจนขนมสุกลอยขึ้นมา จึงช้อนใส่หม้อน้ำเชื่อม
5. ตักใส่ถ้วยขนมหวาน เสริฟ
คำแนะนำ
1. ต้มน้ำเชื่อม โดยต้มน้ำ 5 ถ้วย ด้วยไฟกลาง ใส่น้ำตาลทราย เกลือและขิง ลงไป รอจนเดือด แล้วจึงยกลง
2. ปั้นแป้งขนม โดย นำแป้งใส่อ่างผสม เทน้ำและสีผสมอาหารชมพูที่ละลายน้ำเล็กน้อยลงไป นวดให้เนียนเข้ากัน (ให้แบ่งแป้งไว้ปั้น สีขาว ด้วย)
3. ปั้น ด้วยการคลึงเป็นลูกกลมๆ ขนาด เท่า หัวนิ้วก้อย หรือ 5 มิลลิเมตร วางบนถาด หรือภาชนะทรงแบน ทีมีแป้งข้าวเหนียว โรยเอาไว้กันแป้งติดกัน
4. ต้มน้ำจนเดือด ใส่แป้งที่ปั้นไว้ลงไปในหม้อต้ม รอจนขนมสุกลอยขึ้นมา จึงช้อนใส่หม้อน้ำเชื่อม
5. ตักใส่ถ้วยขนมหวาน เสริฟ1. ขั้นตอนการต้ม ต้องหรี่ไฟให้อ่อน เพื่อไม่ให้ขนมลงไปติดก้นหม้อ แล้วไม่ลอยขึ้นมา
2. ความเหนียวของขนมจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับชนิดของแป้งข้าวเหนียวที่ใช้
3. หากต้องการมีหลายสี ก็ใช้ส่วนผสมสีต่างๆได้ ตามต้องการ เช่น สีเขียว จากใบเตย
4. สีชมพู ควรใช้เพียงเล็กน้อย ไม่ควรให้สีออกมาแดงจัด จะไม่น่าทาน



ภาพและเนื้อหา เรียบเรียงจาก
trueplookpanya.com

HOME SAFE กับวิถีมังกร (ประวัติความเป็นมา เทศกาลกินเจ )



เทศกาลกินเจ 



เทศกาลกินเจ
เทศกาลกินเจ

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          เทศกาลกินเจ 2558 เริ่ม 13-21 ตุลาคม อยากรู้ไหมว่า ประวัติเทศกาลกินเจเป็นอย่างไร แล้วทำไมต้องกินเจ เรามีข้อมูลมาฝาก 

          เมื่อถึงวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 (ตามปฏิทินจีน) ของทุกปี เราจะเห็นธงสีเหลือง ๆ มีตัวอักษรจีนประดับอยู่ตามร้านอาหาร และที่ต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์ว่า เริ่มเข้าสู่เทศกาลกินเจแล้ว โดยในปี 2558 ปฏิทินจีนพบว่า เทศกาลกินเจ ตรงกับวันที่ 13-21 ตุลาคม 2558

          แต่บางคนอาจกินเจล่วงหน้า 1 วัน หรือที่เรียกว่า "ล้างท้อง" นั่นเอง และวันนี้เราก็มีความรู้เกี่ยวกับเทศกาลกินเจมาฝากค่ะ ... 

ความหมายของเจ 
          คำว่า "เจ" ในภาษาจีนทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานมีความหมายว่า "อุโบสถ" เดิมหมายความว่า "การรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน" ตามแบบอย่างของชาวพุทธที่รักษาอุโบสถศีล หรือรักษาศีล 8 ที่จะไม่รับประทานอาหารหลังเที่ยงวันไปแล้ว แต่สำหรับพุทธนิกายมหายานนั้น การรักษาอุโบสถศีลจะรวมถึงการไม่รับประทานเนื้อสัตว์ด้วย เราจึงนิยมเรียกการไม่ทานเนื้อสัตว์รวมไปกับการกินเจ ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อ แต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่า "กินเจ" ดังนั้นความหมายของคนกินเจ ไม่เพียงแต่ไม่ทานเนื้อสัตว์ แต่ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์ สะอาด ทั้งกาย วาจา ใจ

          "การกินเจ" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง การถือศีลอย่างญวนและจีนที่ไม่กินของสดคาว แต่บริโภคอาหารประเภทผักที่ไม่มีของสดของคาวผสม ซึ่งมาจากรากศัพท์คำภาษาจีนที่ว่า "เจียฉ่าย" หมายถึง การกินอาหารผัก อาหารที่มาจากพืชผักธรรมชาติ ไม่มีเนื้อสัตว์ปะปน และไม่ปรุงด้วยผักฉุน 5 ชนิด ได้แก่ กระเทียม หัวหอม หลักเกียว กุยช่าย ใบยาสูบ และงดเว้นน้ำนมสด นมข้นด้วย เพราะถือว่าเป็นของสดของคาว

ช่วงเวลากินเจ 
          ประเพณีกินเจที่ชาวจีนเรียกกันว่า "เก้าอ๊วงเจ" หรือ "กิ้วอ๊วงเจ" แปลว่า "เจเดือน 9" เริ่มต้นในวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีน รวม 9 วัน 9 คืน ตรงกับเดือน 11 หรือเดือนตุลาคมของไทย (ตามปฏิทินสากล) สำหรับในปี พ.ศ.2558 นี้ เริ่มวันที่ 13-21 ตุลาคม 2558 

          คำว่า "เก้าอ๊วง" หรือ "กิ้วอ๊วง" แปลว่า "พระราชา 9 องค์" หรือนพราชา หมายถึงผู้เป็นใหญ่ทั้ง 9 ซึ่งเป็นที่มาของประเพณีกินผักกินเจ

ความหมายของ "ธงเจ"

          ในช่วงเทศกาลกินเจ เราจะสังเกตเห็นธงประจำเทศกาล โดยมีพื้นธงเป็นสีเหลืองซึ่งเป็นสีที่อนุญาตให้ใช้กับคนสองกลุ่มเท่านั้น คือกลุ่มกษัตริย์ ราชวงศ์ และกลุ่มอาจารย์ปราบผี ดังจะเห็นจากยันต์สีเหลืองตามภาพยนตร์จีน ดังนั้นสีเหลืองจึงเป็นสีของพุทธศาสนา หรือผู้ทรงศีล บนธงจะเขียนตัวอักษรสีแดง อ่านว่า "ไจ" หรือ "เจ" มีความหมายว่า "ของไม่มีคาว" เหตุที่ใช้สีแดง เพราะชาวจีนเชื่อว่า เป็นสีมงคง สร้างความเจริญให้แก่ชีวิต

          ธงเจนอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของอาหารเจแล้ว ยังเป็นการเตือนให้พุทธศาสนิกชนที่ปฏิบัติตนถือศีลกินเจได้ตระหนักถึงการไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ และการตั้งอยู่ในศีลตลอดช่วงระยะเวลา 9 วัน 9 คืน

กินเจเพื่ออะไร

          จุดประสงค์หลักของการกินเจ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ

           1. กินเพื่อสุขภาพ เพราะอาหารเจเป็นอาหารชีวจิต เมื่อกินติดต่อกัน จะทำให้ร่างกายสมดุล สามารถขับพิษของเสียต่าง ๆ ออกจากร่างกายได้ และปรับระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้มีเสถียรภาพ

           2. กินด้วยจิตเมตตา เนื่องจากทุก ๆ วัน อาหารที่เรากินประกอบด้วยเลือดเนื้อของสรรพสัตว์ ผู้ที่มีจิตใจดีงามจึงไม่สามารถกินเนื้อของสัตว์เหล่านั้นได้

           3. กินเพื่อเว้นกรรม เพราะการฆ่าเอาเลือดเนื้อผู้อื่นมาเป็นของเราเป็นการสร้างกรรม แม้จะไม่ได้ลงมือฆ่าเองก็ตาม เพราะการซื้อผู้อื่นเท่ากับการจ้างฆ่า ถ้าไม่มีคนกินก็ไม่มีคนฆ่ามาขาย ผู้ที่เข้าใจเรี่องกฎแห่งกรรมจึงหยุดกิน หันมารับประทานอาหารเจแทน โดยไม่เห็นแก่ความอร่อยในช่วงเวลาสั้น ๆ เพียงแค่ให้อาหารผ่านลิ้นเท่านั้น
กินเจ

ตำนานการกินเจ

          ตำนานที่มาของการกินเจ มีเรื่องเล่าอยู่ถึง 7 เรื่องได้แก่

           ตำนานที่ 1 รำลึกถึงวีรชนทั้ง 9

          เทศกาลกินเจเริ่มขึ้นเมื่อ 400 กว่าปีที่แล้ว โดยชาวจีนกินเจเป็นการบำเพ็ญกุศลเพื่อรำลึกถึงวีรชน 9 คน ซึ่งเรียกว่า "หงี่หั่วท้วง" ซึ่งได้ต่อสู้กับชาวแมนจูผู้รุกรานอย่างกล้าหาญ ถึงแม้จะแพ้และต้องตายก็ตาม ดังนั้นเมื่อถึงวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ชาวจีนที่ยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของชาวแมนจู จึงพากันนุ่งขาวห่มขาว ถือศีลกินเจ เพื่อรำลึกถึงเหล่านักสู้ "หงี่หั่วท้วง" ที่ได้ต่อสู้พลีชีพในครั้งนั้น เพราะเชื่อว่าการปฏิบัติเช่นนี้จะช่วยชำระจิตวิญญาณเกิดความเข้มแข็งทางร่างกายและจิตใจ

           ตำนานที่ 2 บูชาพระพุทธเจ้า 
          เชื่อว่า เป็นการประกอบพิธีกรรมเพื่อสักการะบูชาพระพุทธเจ้าในอดีตกาล 7 พระองค์ และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ รวมเป็น 9 พระองค์ด้วยกัน หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า "ดาวนพเคราะห์" ทั้ง 9 ได้แก่ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ พระเสาร์ พระราหู และพระเกตุ ในพิธีกรรมบูชานี้ สาธุชนในพระพุทธศาสนาจะสละเวลาทางโลกมาบำเพ็ญศีล งดเว้นเนื้อสัตว์ และแต่งกายด้วยชุดขาว

           ตำนานที่ 3 เก้าอ๊องฝ่ายมหายาน

          กล่าวไว้ว่า การกินเจเป็นพิธีปฏิบัติที่สืบต่อกันมาของชาวจีนในประเทศไทย เพื่อสักการบูชาพระพุทธเจ้าในอดีตกาล 7 พระองค์ ดังมีในพระสูตร ปั๊กเต๊าโก๋ว ฮุดเชียวไจเอียงชั่วเมียวเกง กล่าวไว้คือ พระวิชัยโลกมนจรพุทธะ พระศรีรัตนโลกประภาโมษอิศวรพุทธะ พระเวปุลลรัตนโลกวรรณสิทธิพุทธะ พระอโศกโลกวิชัยมงคลพุทธะ พระวิสุทธิอาศรมโลกเวปุลลปรัชญาวิภาคพุทธะ พระธรรมมติธรรมสาครจรโลกมโนพุทธะ พระเวปุลลจันทรโภคไภสัชชไวฑูรย์พุทธะ และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ คือพระศรีสุขโลกปัทมอรรถอลังการโพธิสัตว์และพระศรีเวปุลกสังสารโลกสุขอิศวรโพธิสัตว์ รวมเป็น 9 พระองค์ (หรือ "เก้าอ๊อง")

          ทรงตั้งปณิธานจักโปรดสัตว์โลก จึงได้แบ่งกายมาเป็นเทพเจ้า 9 พระองค์ด้วยกันคือ ไต้อวยเอี๊ยงเม้งทัมหลังไทแชกุน ไต้เจียกอิมเจ็งกื้อมึ้งงวนแชกุน ไต้กวนจิงหยิ้งลุกช้งเจงแชกุน ไต้ฮั่งเฮี่ยงเม้งม่งเคียกนิวแชกุน ไต้ปิ๊กตังง้วนเนี้ยบเจงกังแชกุน ไต้โพ้วปั๊กเก๊กบู๊เอียกกี่แชกุน ไต้เพียวเทียนกวนพัวกุงกวนแชกุน ไต้ตั่งเม้งงั่วคูแชกุน ฮุ้ยกวงไตเพียกแชกุน เทพเจ้าทั้ง 9 พระองค์ ทรงอำนาจตบะอันเรืองฤทธิ์บริหารธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และทอง ทั่วทุกพิภพน้อยใหญ่สารทิศ

           ตำนานที่ 4 พิธีบูชาเพื่อระลึกถึงราชวงศ์ซ้อง

          เชื่อว่า การกินเจกินเจเป็นการบูชากษัตริย์เป๊ง กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ซ้องซึ่งสิ้นพระชนม์โดยทรงทำอัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ในขณะที่เสด็จไต้หวันโดยทางเรือ เมื่อมีพระชนนมายุได้ 9 พรรษา พิธีบูชาเพื่อระลึกถึงราชวงศ์ซ้องนี้ มีแต่เฉพาะในมณฑลฮกเกี้ยนซึ่ง เป็นดินแดนผืนสุดท้ายของราชวงศ์ซ้องเท่านั้น โดยชาวฮกเกี้ยนได้จัดทำพิธีดังกล่าวนี้ขึ้นด้วยการอาศัยศาสนาบังหน้าการเมือง ประเพณีนี้เข้ามาสู่เมืองไทยโดยชาวจีนแต้จิ๋วที่อพยพจากฮกเกี้ยนนำมาเผยแผ่อีกทอดหนึ่ง

           ตำนานที่ 5 เล่าเอี๋ย

          เมื่อ 1,500 ปีก่อน ณ มณฑลกังไสซึ่งเป็นแดนแห่งความเจริญรุ่งเรือง ฮ่องเต้เมืองนี้มีพระราชโอรส 9 พระองค์ซึ่งเก่งทั้งบุ๋น บู๊ ทำให้หัวเมืองต่าง ๆ ยอมสวามิภักดิ์ ยกเว้นแคว้นก่งเลี้ยดที่มีอำนาจเข้มแข็ง และมีกองกำลังทหารที่เหนือกว่า ทั้งสองแคว้นทำศึกกันมาถึงครั้งที่ 4 แคว้นก่งเลี้ยดชนะโดยการทุ่มกองกำลังทหารที่มากกว่าหลายเท่าตัว โอบล้อมกองทัพพระราชโอรสทั้งเก้าไว้ทุกด้าน แต่กองทัพก่งเลี้ยดไม่สามารถบุกเข้าเมืองได้จึงถอยทัพกลับ จนวันหนึ่งชาวกังไสเกิดความแตกสามัคคีและเอาเปรียบกัน เทพยดาทราบว่า อีกไม่นานกังไสจะเกิดภัยพิบัติจึงหาผู้อาสาช่วย แต่ชาวบ้านจะพ้นภัยได้ก็ต่อเมื่อได้สร้างผลบุญของตนเอง ดวงวิญญาณพระราชโอรสองค์โตรับอาสา และเพ่งญาณเห็นว่า ควรเริ่มที่บ้านเศรษฐีใจบุญลีฮั้วก่าย

          คืนวันหนึ่งคนรับใช้แจ้งเศรษฐีลีฮั้วก่ายว่า มีขอทานโรคเรื้อนมาขอพบ เศรษฐีจึงมอบเงินจำนวนหนึ่งให้เป็นค่าเดินทาง แต่ขอทานไม่ไป และประกาศให้ชาวเมืองถือศีลกินเจเป็นเวลา 9 วัน 9 คืน ผู้ใดทำตามภัยพิบัติจะหายไป เศรษฐีนำมาปฏิบัติก่อน และผู้อื่นจึงปฏิบัติตาม จนมีการจัดให้มีอุปรากรเป็นมหรสพในช่วงกินเจด้วย

          เล่าเอี๋ยเกิดศรัทธาประเพณีกินเจของมณฑลกังไส จึงได้ศึกษาตำราการกินเจของ เศรษฐีลีฮั้วก่ายที่บันทึกไว้ แต่ได้ดัดแปลงพิธีกรรมบางอย่างให้รัดกุมยิ่งขึ้นและให้มีพิธียกอ๋องฮ่องเต้ (พิธีเชิญพระอิศวรมาเป็นประธานในการกินเจ)

           ตำนานที่ 6 เล่าเซ็ง

          มีชายขี้เมาคนหนึ่งชื่อ เล่าเซ็ง เข้าใจผิดว่า แม่ตนตายไปเพราะเป็นโรคขาดสารอาหาร จนคืนหนึ่งแม่มาเข้าฝันว่า ตนตายไปได้รับความสุขมาก เพราะแม่กินแต่อาหารเจ และหากลูกต้องการพบให้ไปที่เขาโพถ้อซัว บนเกาะน่ำไฮ้ ครั้นถึงเทศกาลไหว้พระโพธิสัตว์กวนอิมที่เขาโพถ้อซัว เล่าเซ็งจึงขอตามเพื่อนบ้านไปไหว้พระโพธิสัตว์ด้วย โดยเพื่อนบ้านให้เล่าเซ็งสัญญาว่า จะไม่กินเหล้าและเนื้อสัตว์จึงยอมให้ไป แต่ระหว่างทางเล่าเซ็งผิดสัญญา เพื่อนบ้านจึงหนีไป โชคดีที่มีหญิงสาวคนหนึ่งต้องการไปไหว้พระโพธิสัตว์เช่นกัน เขาจึงขอตามนางไปด้วย

          เมื่อถึงเขาโพถ้อซัว ขณะที่เล่าเซ็งก้มลงกราบพระโพธิสัตว์อยู่นั้น เขาเห็นแม่ลอยอยู่เหนือกระถางธูป แต่คนอื่นมองไม่เห็น ขณะเขาเดินทางกลับ ได้เจอกับเด็กชายยืนร้องไห้อยู่ จึงเข้าไปถามไถ่จนทราบว่า เด็กคนนั้นเป็นลูกชายของเขากับภรรยาเก่าที่เลิกกันไปนานแล้ว เขาจึงพาไปอยู่ด้วย และต่อมาหญิงสาวที่นำทางเล่าเซ็งไปพบพระโพธิสัตว์ได้มาขออยู่ด้วย ทั้งสามอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข

          หญิงสาวคนนั้นเป็นสาวบริสุทธิ์ มีความประพฤติดี อยู่ในศีลธรรม และถือศีลกินเจอยู่เป็นประจำ นางรู้ว่าใกล้ถึงวันตายของนางแล้ว จึงบอกเล่าเซ็ง เมื่อถึงวันนั้นนางแต่งตัวด้วยอาภาณ์ขาวสะอาด นั่งสักครู่แล้วก็สิ้นลม เล่าเซ็งเห็นการจากไปด้วยดีของนางคล้ายกับแม่ จึงเกิดศรัทธา ยกสมบัติให้ลูกชาย แล้วประพฤติตัวใหม่ เมื่อตายไปจะได้บังเกิดผลเช่นเดียวกับแม่ และหญิงสาว ประเพณีกินเจจึงเริ่มขึ้นตั้งแต่นั้น

           ตำนานที่ 7 การกินเจที่ภูเก็ต

          มีคณะงิ้วจากเมืองจีน มาเปิดการแสดงที่อำเภอกระทู้นานเป็นแรมปี บังเอิญช่วงนั้นเกิดโรคระบาดขึ้น คณะงิ้วจึงจัดให้มีพิธีกินเจ และสร้างศาลเจ้าขึ้นเพื่อสะเดาะเคราะห์ หลังจากนั้นโรคระบาดก็หาย ชาวกะทู้เกิดความศรัทธาจึงปฏิบัติตาม หลังจากประกอบพิธีอยู่ประมาณ 2-3 ปี ก็มีผู้คนเลื่อมใสมากขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับอยากได้พิธีกินเจที่สมบูรณ์แบบตามประเพณีมณฑลกังไส ประเทศจีน จึงได้ส่งตัวแทนไปนำควันธูป (เหี่ยวเอี้ยน) จากกังไสให้ลอยมาถึงภูเก็ต โดยในการเดินทางกลับจะต้องคอยจุดธูปต่อกันมิให้ดับมอด ศาลเจ้ากะทู้จึงได้ชื่อว่าเป็นต้นตำรับของพิธีกินเจในปัจจุบัน

          สำหรับเมืองไทยความเชื่อเรื่องการกินเจ เป็นไปในแนวทางของการละเว้นการเอาชีวิตของสัตว์ เพื่อเป็นสักการะบูชาแก่พระพุทธเจ้า และมหาโพธิสัตว์กวนอิม อาจเนื่องจากการแพร่หลายของการละเว้นการกินเนื้อวัว ในกลุ่มคนที่นับถือ "เจ้าแม่กวนอิม" การกินเจจึงเป็นอีกหนึ่งพิธีกรรมเพื่อสักการะ 

เทศกาลกินเจ ภูเก็ต
เทศกาลกินเจ ที่ จ.ภูเก็ต


ภูเก็ต เมืองแห่งเทศกาลเจ


          จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่จัดประเพณีการกินเจอย่างยิ่งใหญ่ทุก ๆ ปี โดยมาจากรากฐานความเชื่อเดียวกัน คนจีนเรียก "เจเดือนเก้า" แต่ถ้านับตรงกับเดือนไทยก็จะได้ตรงกับเดือน 11 ดังนั้นเทศกาลกินเจที่ภูเก็ตจึงมีขึ้นหลังเทศกาลกินเจทั่ว ๆ ไป บางครั้งเราจึงมักได้ยินชื่อเรียกของเทศกาลกินเจที่ภูเก็ตว่า เป็นเทศกาลกินผัก ซึ่งแท้จริงแล้วก็คือการกินเจในรูปแบบ และระยะเวลา 9 วันเช่นเดียวกัน

10 วันของเทศกาลกินเจ 
          ประเพณีกินเจจะจัด 9 วัน 9 คืน โดยแต่ละวันมีพิธีต่าง ๆ กันดังนี้

           วันแรก แต่ละศาลเจ้าก็จะดูฤกษ์ยามว่า จะเชิญเจ้ามาเวลาไหน แต่ไม่เกินเที่ยงวัน โดยใช้ "ปวย" 2 อันเสี่ยงทายโดยการโยน 2 ครั้ง หาก 1 อันหงาย 1 อันคว่ำ แสดงว่า เจ้าทั้ง 9 ได้เสด็จลงมาแล้ว การกินเจจะเริ่มขึ้น แต่คนส่วนใหญ่มักทานกันล่วงหน้าเพื่อล้างท้อง

          ที่ภูเก็ตในตอนกลางคืนจะมีพิธียกเสา "โกเด้ง" ขึ้นที่หน้าศาลเจ้า หรืออ๊าม เพื่อใช้เป็นที่แขวนตะเกียงทั้ง 9 ดวง และอัญเชิญดวงวิญญาณของยกอ๋องฮ่องเต้ หรือ พระอิศวร และ กิวอ๋องไตเต หรือ ราชาผู้เป็นใหญ่ทั้งเก้ามาประทับ

           เช้าวันที่สอง จะมีการจุดธูปขนาดใหญ่ ตั้งเครื่องเซ่นและเผาไม้หอม เพื่อบูชาเจ้าประจำอ๊าม

          หลังพิธีการกินเจ หรือชาวภูเก็ตเรียก "การกินผัก" ผ่านไป 3 วัน จะถือว่าตัวเองมีความสะอาดแล้ว หรือเรียกว่า "เช้ง" ในตอนค่ำมีพิธีการเชิญเจ้าเข้าทรงอีก 2 องค์ คือ "ลำเต้า" เจ้าผู้สำรวจคนเกิด และ "ปักเต้า" เจ้าผู้สำรวจคนตาย และทำพิธี "ปั้งกุ้น" หรือพิธีปล่อยพระ หรือการจัดทหารของเจ้าไปรักษาศาลเจ้าทั้ง 5 ทิศ เพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้าย และภูตผีมาทำลายพิธี ความสนุกสนานเริ่มขึ้นตรงนี้ เมื่อการเชิญทหารเต็มไปด้วยร่างทรงของตัวละคร อาทิ เห้งเจีย บู๊สง เป็นต้น

           วันที่สี่ เป็นวันที่คนส่วนใหญ่จะมาไหว้เจ้า วันนี้ศาลเจ้าต่าง ๆ จะเนืองแน่นไปด้วยผู้คน

           ในวันที่เจ็ด จะเริ่มพิธีบูชาดาว เพื่อขอความเป็นสิริมงคล รักษาโรคภัยไข้เจ็บ เป็นอีกวันหนึ่งที่มีการไหว้เจ้า แต่วันนี้สำคัญกว่าวันที่สี่ เรียกว่า "ไหว้เจ้าใหญ่" ในวันนี้จะมีการซื้อเต่า, ปลาไหล, นก ฯลฯ มาไหว้ด้วย

           วันที่แปด วันนี้จะมีการลอยกระทง คล้ายการลอยกระทงของคนไทย เพื่อขอบคุณเจ้าแม่คงคาที่ให้น้ำใช้ น้ำดื่ม และให้สิ่งไม่ดีลอยไปตามน้ำ นอกจากนี้ที่ภูเก็ตยังมีการจัดขบวนแห่อย่างมโหฬาร เพื่อนำเกี้ยวไปรับพระจำหลักที่สะพานหิน เป็นการระถึงวันที่ควันธูปจากมณฑลกังไสมาถึงภูเก็ต ในขบวนแห่จะมีการแสดงอิทธิฤทธิ์ของม้าทรง หรือ คนทรงเจ้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย จะเห็นภาพของการใช้ของมีคมต่าง ๆ ทิ่มแทงตามร่างกาย มีทั้งง้าว ลูกตุ้มเหล็กฟาดหน้าฟาดหลัง เอาขวานจามหลัง หรือเอาเหล็กแหลมทิ่มแทงร่างกาย หรือแทงลิ้น จนกระทั่งเฉือนลิ้นตัวเองออกมา โดยทรงเหล่านั้นอ้างว่าไม่มีความเจ็บปวดใด ๆ ขณะเป็นร่างทรง ม้าทรงจะเดินเต้นไปทั่วเมือง ชาวบ้านจะตั้งโต๊ะเครื่องเซ่นไหว้ เพื่อให้เจ้าไปโปรดและมีการจุดประทัดตลอดเส้นทาง ทั้งเกาะปกคลุมด้วยควันธูปและประทัด

           วันที่เก้า ช่วงเช้าจะมีพิธีทำทาน หรือเรียกว่า "ซิโกว" เป็นการให้ทานแก่ผีไม่มีญาติ ตอนกลางคืนจะมีแห่มังกร, สิงโต, ขบวนของเด็กที่จัดเพื่อเป็นสีสัน

          ขณะที่จังหวัดภูเก็ตจะมีพิธีศักดิ์สิทธิ์ คือ พิธี "โก๊ยโห้ย" หรือพิธีลุยไฟสะเดาะเคราะห์ ม้าทรง หรือเจ้าจะเดินผ่านกองไฟ ที่มีถ่านร้อนแดงเป็นระยะทางกว่า 2 ฟุต และตามด้วยผู้ที่ถือศีลกินเจที่มีความมั่นใจว่าตัวเองสะอาดแล้ว ก็สามารถร่วมลุยไฟได้ด้วยเช่นกัน ในตอนกลางคืนจะมีพิธีปีนบันไดมีด สูงประมาณ 12 เมตร และจบลงที่ยามดึกของคืนวันที่ 9 จะมีการแห่พระไปส่งทะเลบริเวณสะพานหิน และนำเสาโกเต้งลง ดับโคมไฟทั้ง 9 เป็นเสร็จพิธีกินเจที่ภูเก็ต

           วันที่สิบ เป็นวันส่งเจ้ากลับ

อาหารเจ 

เทศกาลกินเจ 2557 เริ่ม 24 กันยายน-2 ตุลาคม

          อาหารเจนับว่าเป็นอาหารที่มีประโยชน์ และไม่มีพิษต่อร่างกาย เพราะได้โปรตีนจากถั่วต่าง ๆ และยังย่อยง่ายเป็นการแบ่งเบาภาระของระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย ผู้ที่รับประทานเจ สามารถเลือกส่วนผสมดังต่อไปนี้มาปรุงอาหารได้ คือ ข้าวกล้อง (ใช้แทนข้าวขาว) โปรตีนเกษตร (แทนเนื้อสัตว์) ผักสด เห็ดหอม ถั่วนานาพันธุ์ เต้าหู้ แป้งหมี่กึง และผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ ปัจจุบันมีเมนูอาหารจำนวนมาก ซึ่งหลายเมนูทำเลียนแบบเนื้อสัตว์ได้เหมือนจริง เช่น ขาหมูเจที่ทำจากแป้ง และถั่ว ฯลฯ

ความแตกต่างของ "เจ" กับ "มังสวิรัติ"

อาหารเจกับอาหารมังสวิรัติ

          หลายคนอาจสงสัยว่า "กินเจ" ต่างกับ "กินมังสวิรัติ" อย่างไร เพราะอาหารมังสวิรัติก็เป็นอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบเช่นเดียวกัน แต่มังสวิรัติสามารถทานผักได้ทุกชนิด แต่อาหารเจ ต้องเว้นผักฉุน 5 ประเภท คือ กระเทียม หัวหอม (รวมทั้งหอมแดง หอมขาว หัวหอมใหญ่ ต้นหอม) หลักเกียว (กระเทียมโทนจีน ไม่ค่อยพบในประเทศไทย) กุยช่าย และใบยาสูบ รวมทั้งของเสพติดทุกชนิด และยังต้องประพฤติศีลร่วมด้วย จึงจะเป็นการถือศีลกินเจที่แท้จริง ขณะที่มังสวิรัติ หมายถึง การไม่รับประทานเนื้อสัตว์เท่านั้น

หลักธรรมในการกินเจ 
          การกินเจตั้งมั่นอยู่บนหลักธรรมสำคัญ 2 ประการ

           1. การดำรงชีวิตอยู่ด้วยอาหารที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น คือ ไม่เอาชีวิตของสัตว์ทั้งหลายมาต่อเติมบำรุงเลี้ยงชีวิตของตน, ไม่เอาเลือดของสัตว์ทั้งหลายมาเป็นเลือดของตน และไม่เอาเนื้อของสัตว์ทั้งหลายมาเป็นเนื้อของตัวเอง

           2. การดำรงชีวิตอยู่ด้วยอาหารที่ไม่เบียดเบียนตนเอง คือ จะรับประทานสิ่งใดเข้าไปต้องไม่ทำให้ร่างกายทรุดโทรมเท่ากับเป็นการเบียดเบียนตนเอง ดังนั้นจึงมีการห้ามของมึนเมา สารเสพติด ขณะที่วิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์ยืนยันว่า เลือดและเนื้อของสัตว์ที่ถูกฆ่าตายเต็มไปด้วยพิษภัยมากมาย เนื้อสัตว์เหล่านี้จึงจัดเป็นพิษชนิดหนึ่งเช่นกัน การละเว้นจึงส่งผลดีต่อร่างกายอีกด้วย
กินเจ

การปฏิบัติตนในช่วงกินเจ 
          ช่วงเวลา 9 วันที่กินเจนั้น ผู้ที่ต้องการเป็นผู้ถือศีลกินเจอย่างครบสมบูรณ์ตามประเพณี ต้องปฏิบัติตัวดังนี้

           1. งดเว้นเนื้อสัตว์ และทำอันตรายต่อสัตว์

           2. งดนม เนย และน้ำมันที่มาจากสัตว์

           3. งดอาหารรสจัด ทั้งอาหารเผ็ด หวานจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด

           4. งดผักหรือเครื่องเทศที่มีกลิ่นแรง เช่น กระเทียม หัวหอม ต้นหอม หลักเกียว กุยช่าย รวมทั้งใบยาสูบ และของมึนเมาต่าง ๆ เพราะผักดังกล่าวนี้ เป็นผักที่มีรสหนัก กลิ่นเหม็นคาวรุนแรง นอกจากนี้ยังมีพิษคอยทำลายพลังธาตุทั้ง 5 ในร่างกาย เป็นเหตุให้อวัยวะหลักสำคัญภายในทั้ง 5 ทำงานไม่ปกติ

           5. รักษาศีลห้า

           6. ทำบุญทำทาน สำหรับคนที่เคร่งครัดจะนุ่งขาวห่มขาว

           7. รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ รักษาอารมณ์

          สำหรับผู้ที่เคร่งครัดมาก ๆ จะทานอาหารเฉพาะที่คนกินเจด้วยกันเป็นคนปรุงเท่านั้น รวมทั้งจะต้องล้างหม้อจนสะอาด แยกภาชนะสำหรับใส่เนื้อสัตว์ออก เพื่อปรุงอาหารเจเฉพาะ นอกจากนี้ยังจุดตะเกียงไว้ 9 ดวงตลอดช่วงเทศกาลกินเจ 9 วัน โดยไม่ปล่อยให้ดับ เพื่อเป็นพุทธบูชา และรำลึกถึงบุญคุณของพ่อแม่ญาติพี่น้อง ตลอดจนผู้ที่มีบุญคุณต่อผืนแผ่นดินเกิด

ประโยชน์ของการกินเจ

          การกินอาหารเจ นอกจากจะเป็นการถือศีลรักษาประเพณี และละเว้นชีวิตแล้ว ยังให้ประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้

           1. ร่างกายสามารถขับถ่ายของเสียออกได้หมดทำให้ ไม่มีสารพิษตกค้างอยู่ภายใน เพราะสารอาหารจากพืชผักและผลไม้จะช่วยให้ระบบขับถ่ายและการย่อยเป็นปกติ

           2. เมื่อรับประทานเป็นประจำ โลหิตจะถูกฟอกให้สะอาดขึ้นเรื่อย ๆ เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายเสื่อมสลายช้าลง ทำให้อายุยืนยาวมีผิวพรรณสดชื่นผ่องใส ร่างกายแข็งแรงรู้สึก มีสุขภาพดี

           3. อวัยวะหลักสำคัญภายใน ได้แก่ หัวใจ ไต ม้าม ตับ ปอด และอวัยวะประกอบคือ ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ กระเพาอาหาร ถุงน้ำดี แข็งแรงทำงานได้เป็นปกติสมบูรณ์

           4. ร่างกายสามารถต้านทานต่อสารพิษต่าง ๆ ได้แก่ สารเคมี ยาฆ่าแมลง มลภาวะ และก๊าซพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ในอุตสาหกรรม ไอเสียจากเครื่องจักร เครื่องยนต์ ซึ่งสารอาหารในพืชผัก จะช่วยให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายสามารถทนต่อการทำลายจากรังสีต่าง ๆ ได้

           5. สามารถต้านทานสารพิษได้สูงกว่าคนปกติ ในบรรดาผู้ที่ทานเจมักไม่ปรากฎโรครุนแรงหรือเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดตีบ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคไต ฯลฯ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบขับถ่าย ย่อยอาหารและทางเดินอาหาร เช่น โรคริดสีดวงทวาร มะเร็งในกระเพาะและลำไส้ โรคกระเพาะ อาหารไม่ย่อย โรคเหล่านี้จะไม่พบเลยในกลุ่มคนผู้ที่รับประทานอาหารเจ อาหารพืชผักและผลไม้เป็นประจำ

           6.การกินเจทำให้เกิดความเมตตา เกิดความสงบสุขุม อารมณ์ไม่ฉุนเฉียว ไม่โมโหง่าย ซึ่งจะช่วยเกื้อกูลส่งเสริมให้บารมีธรรมสูงขึ้นเรื่อย ๆ

           7.หยุดการสร้างบาป เวรกรรม ทำให้ไม่เกิดการอาฆาต พยาบาท จึงปราศจากศัตรูทั้งมนุษย์และสัตว์ที่คิดมุ่งทำร้ายตามจองเวร
ทานเจอย่างไรให้ถูกสุขภาพดี

           การกินเจนอกจากจะช่วยซ่อมแซมร่างกายของตัวเองแล้ว ยังหยุดการเบียดเบียนผู้อื่น เป็นการสร้างกุศลอิ่มใจแล้วก็อิ่มบุญอีกต่อ ใครที่ไม่เคยกินเจ จะเริ่มในปีนี้ก็ไม่สายเกินไปนะคะ

ประโยชน์ของการกินเจขอแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ประโยชน์ในด้านของศาสนา ได้แก่ บังเกิดเมตตาจิต เกิดความสงบ สุขุม เยือกเย็น อารมณ์ไม่ฉุนเฉียว ไม่หุนหันพลันแล่น โมโหง่าย ดวงธรรมญาณอันบริสุทธิ์จะปรากฏออกมาซึ่งจะช่วยเกื้อกูลส่งเสริม ให้บารมีธรรมสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีสติมั่นคง มีสมาธิแน่วแน่ ไม่ประมาทเลินเล่อเป็นประโยชน์ต่อการดำเนิน ชีวิตและการทำงาน สามารถรอดพ้นจากภัยต่างๆ เช่น ภัยธรรมชาติ ภัยจากสัตว์ ภัยจากเคราะห์กรรม เมื่อวิญญาณออกจากร่าง ก็จะไปสู่ภพภูมิที่ดี หยุดการทำบาป ตัดเวรกรรมที่ผูกพัน ทำให้ไม่เกิดการอาฆาตพยาบาท ทำให้ปราศจากศัตรูทั้งมนุษย์และสัตว์ที่คิดมุ่งร้ายตามจองเวร สิ่งไม่ดีจะถูกขับออกไป ความรู้สึกขุ่นมัว มืดมนจะหมดไป
เทศกาลกินเจ...รู้ให้ลึก กินอย่างเข้าใจ
หลังจากกินเจต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานๆ ความสดใสจะปรากฏขึ้นในจิตใจ และถ่ายทอดออกไปสู่ใบ หน้าให้มีความสะอาดสดใส ผู้ที่กินเจรวมทั้งครอบครัวและบุตรหลาน และคนในปกครองจะเกิดความรุ่งเรืองในชีวิต มีเหตุให้เกิดอยู่ในดินแดนอารยะ มีแต่ความอุดมสมบูรณ์ ปราศจากการทำร้ายรบราฆ่าฟัน ไม่มุ่งร้ายทำลายชีวิตซึ่งกัน และกัน ทำให้จิตใจสะอาดไม่ฟุ้งซ่านจิตใจที่สะอาดทำให้มองเห็นกายอันแท้จริงสามารถสู่นิพพานได้ในที่สุด เทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ความคุ้มครองอารักขาไม่ให้สิ่งเลวร้ายหรือวิญญาณชั้นต่ำเข้ามาทำร้าย


ประโยชน์ในด้านวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ผลดีต่อสุขภาพร่างกาย มีดังนี้ ขับสารพิษที่ตกค้างอยู่ในร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเนื้อสัตว์ ระบบเลือดสมดุล ผิวพรรณดี ร่างกายเบาสบายไม่อึดอัด อวัยวะสำคัญๆภายในร่างกายแข็งแรง ทำงานได้เป็นปกติสมบูรณ์ร่างกายได้รับสารต้านออกซิเดชั่น สารพฤกษเคมีจากพืชผัก
เทศกาลกินเจ...รู้ให้ลึก กินอย่างเข้าใจ
ช่วยลดปัญหาโรคหัวใจ เบาหวาน เก๊าท์ และอื่นๆ สำหรับผู้ที่กินเจเป็นประจำ มักไม่ปรากฏโรคที่รุนแรงหรือเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจความดันโลหิตสูง เส้นเลือดตีบ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคไต ไขข้ออักเสบ โรคเก๊าส์ โรคเบาหวานฯลฯ

ขอให้ทุกท่านอิ่มบุญกับการถือศีลกินเจในปีนี้ค่ะ


เรื่อง : อุมัย
ขอบคุณข้อมูลจาก Greenista Society
- See more at: http://travel.truelife.com/detail/2094830#sthash.mSlEINaS.dpuf

ขอขอบคุณข้อมูลจาก 
-kapook.com