HOME SAFE กับวิถีมังกร (ประวัติความเป็นมา วันไหว้ขนมบัวลอย (วันตังโจ๊ย) )


วันไหว้ขนมบัวลอย (วันตังโจ๊ย)
วันไหว้ขนมบัวลอย (วันตังโจ๊ย)
 
        การไหว้สารทที่ 8 การไหว้ขนมอี้ หรือ ขนมบัวลอย เรียกว่าไหว้ตังโจ่ย เทศกาลนี้เรียกว่า เทศกาลตังจี่ (ตังโจ๊ย) หรือที่เรียกกันว่าสารทขนมอี๊
       มักตรงกับวันที่ 21 หรือ 22 ธันวาคม เป็นวัน “ตังโจ้ย” ( 冬 節 ) หรือเทศกาลกิน ” อี๊”( 圓 ) ขนมบัวลอย ผู้ที่ผ่านวันนี้ไปแล้วพึงจำไว้ ท่านมีอายุเพิ่มขึ้นอีก 1 ขวบ
        ” อี๊” ส่วนหนึ่งจะเอาไปติดไว้ตามตู้กับข้าว ผนัง ตามข้างเตาไฟ จุดอื่นในห้องครัวบ้าง ในช่วงนี้จนถึงสิ้นปี จะมีงิ้วแก้บน ที่เรียกว่า งิ้ว “ เสี่ยซิ้ง “ ( 謝 神 ) กันแทบทุกศาลเจ้า ศาลพระภูมิ หรือ โรงเจ
        หมายเหตุ : เหตุที่ต้องใช้เดือนของเทศประกอบเนื่องจากการคำนวณวัน “ตังโจ๊ย” ถือเอาวันที่เวลากลางวันสั้นที่สุดของปี ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นฤดูหนาวของประเทศจีน หรือประเทศซีกโลกทางเหนือ วันที่ที่กำหนดว่าเป็นวัน“ตังโจ๊ย” ให้ดูจากปี ค.ศ. ปีที่หารด้วย 4 ลงตัวหรือปีที่เดือน กุมภาพันธ์มี 29 วัน “ตังโจ๊ย” จะเป็นวันที่ 21 ธันวาคม
 

เทศกาลกับฤดูกาล

        (ขนมบัวลอย)กล่าวกันว่า ในวันเริ่มตังโจ๊ยนี้ พระอาทิตย์อยู่ทางทิศใต้สุดขั้ว เงาของพระอาทิตย์ยาวที่สุด ในสมัยโบราณจึ่งเรียกวัน ๆ นี้ว่า เฉี่ยงจี่ (สุดยาว) เป็นหลักการโคจรของพระอาทิตย์ ในแต่ละปี ภายหลังสารท ชิวฮุง พระอาทิตย์เริ่มเคลื่อนลงสู่ทางทิศใต้ ถึงเส้นแวงที่ 23 องศา 26 ลิปดา 59 พิลิปดา ดังนั้นทางขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ ดินฟ้าภูมิอากาศย่อมมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แสงแดดยามกลางวันนั้นสั้น แสงมืดแห่งยามราตรีนั้นยาว แต่ที่ทางขั้วโลกใต้นั้นกลับตรงกันข้าม วันตังโจ๊ย เป็นวันที่พระอาทิตย์อยู่ทางขั้วใต้สุด ๆ ดังนั้นวันตังจี่ ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า น่ำจี่ (สุดใต้) และเมื่อผ่านวัน ตังโจ๊ยล่วงไปแล้ว พระอาทิตย์ก็จะเริ่มโคจรตามปกติสู่ทางด้านทิศเหนือ วันเวลายามกลางวันก็จะเริ่มต้นยาวขึ้นตามลำดับ

      วัน ตังโจ๊ย จึงถือเป็นวันตายตัวของวันเหมายัน ในวันที่ 21, 22 หรือวันที่ 23 ธันวาคม ตามปฏิทินทางสุริยะคติสากล แต่ปฏิทินจีน ได้ใช้หลักตามจันทรคติ ดังนั้น เมื่อถือตามหลักของปฏิทินจีนวันตังโจ๊ย จึงไม่มีการตายตัวทุก ๆ ปี (ตังโจ๊ย ปีนี้ปฏิทินจีนเป็นวันที่ 22 เดือนที่ 11)
        อ่านเพิ่มเติมความรู้เรื่อง ฤดูกาลและปรากฎการณ์ดาราศาสตร์ ที่ : http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/24967/
 

เทศการการไหว้ขนมบัวลอย
 
       ในอดีตสาเหตุการไหว้เจ้าด้วยขนมบัวลอย เนื่องจากขนมนี้ทำมาจากแป้งข้าวเจ้า เมื่อปั้นเป็นลูกนำมารับประทานจะอยู่ท้องได้ดี ในช่วงอากาศหนาว ยิ่งตอนกลางคืน อากาศยิ่งหนาว หากกินอาหารที่ไม่อยู่ท้องจะทำให้รู้สึกหิว แล้วตื่นบ่อย ๆ ลมหนาวจะมาจากทิศเหนือทำให้คนทั่วไประลึกว่า อากาศหนาวเย็นแล้ว
       คนจีนจึงไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในช่วงเดือนนี้ เพื่อให้คุ้มครองสัตว์เลี้ยงแล้วพืชผลทางการเกษตรให้เพาะปลูกได้ดี และขอให้มีสุขภาพแข็งแรง อีกทั้งทำให้รับรู้ว่ากำลังจะหมดไปอีกปีหนึ่งแล้ว อายุมากขึ้น โตขึ้น ส่วนคนที่ยังดวงไม่ดี ถ้าไหว้เจ้าวันนี้ก็จะหมดเคราะห์จะได้พบกับปีใหม่ที่ดี บางแห่งเอาขนมอี๋ไปใช้ในพิธีแต่งงานโดยให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวกิน เพื่อเป็นสิริมงคล อายุมั่นขวัญยืน สามัคคีกลมเกลียวกัน
วิธีการไหว้
 
       สารทการไหว้ด้วยขนมบัวลอย จะตั้งโต๊ะเครื่องบวงสรวงไหว้ในบ้านหรือนอกบ้านก็ได้ แต่ตามหลักจีนโบราณจะตั้งโต๊ะเครื่องบวงสรวงนอกบ้าน โดยต้องตั้งเครื่องบวงสรวงไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบ้านก่อน จึงมาตั้งไหว้กลางแจ้งนอกบ้าน โดยอาจจุดธูป 3 ดอก 5 ดอก 10 ดอก
    เครื่องเซ่นไหว้ประกอบไปด้วย
- อาหาร 5 อย่าง
- ขนมบัวลอย 4 ถ้วย
- ผลไม้ 5 อย่าง
- น้ำชา 5 ถ้วย
- เครื่องบรรณาการต่าง ๆ
 
        ในสมัยโบราณ เมื่อถึงวันเทศกาลตังโจ๊ย คนจีนต่างให้ความสำคัญไม่แพ้วันตรุษจีน เพราะเป็นวันใกล้จะสิ้นปี ต่างกุลีกุจอเตรียมการการฉลองวันสิ้นปีและวันตรุษจีน ดั่งเช่นที่เมืองโซวจิว ชาวเมืองต่างตื่นกันแต่เช้า รีบ ๆ กันไปไหว้เจ้าที่ศาลเจ้าตังเก๊กเซี่ยอ่วงเบี่ย (ศาลเจ้าหลักเมือง) ร้านรวงค้าขายต่างหยุดกิจการ ชาวเมืองต่างพร้อมใจกันร่วมฉลองดั่งเช่นวันตรุษจีน
         มีคำกล่าวขวัญกันว่า ตังโจ๊ยท่วงจื้อ, นี่โจ๊ยกอ แปลว่า ตังโจ๊ย ฉลองขนม ท่วงจื้อ (เป็นขนมทรงกลมชนิดหนึ่ง), ตรุษจีนฉลองขนม กอ (ขนมโก๋) นี่เป็นธรรมเนียมทำขนมกินกันตามสารท
          แต่ตามพิธีการของคนจีนส่วนใหญ่ทั่วทั้งประเทศ ในวันตังโจ๊ยนี้ คนจีนทางภาคเหนือมักกินเกี๊ยวน้ำ ส่วนคนจีนทางภาคใต้มักกินขนมท่วงจื้อ ตามธรรมเนียมของคนจีนทางภาคใต้ ขนมท่วงจื้อ ซึ่งเป็นขนมรูปเม็ดทรงกลม ได้ถูกพัฒนามาเป็นขนม อี๊ (ขนมบัวลอย) ดั่งเช่นที่เห็น ๆ คนจีนส่วนใหญ่กินกันในประเทศไทย เพราะว่าขนม อี๊ (บัวลอย) รูปเม็ดทรงกลม คนจีนเชื่อกันว่า เมื่อกินขนมชนิดนี้ตอนเทศกาลวันตังโจ๊ย จะทำให้บุคคลในครอบครัว ต่างสมัครสมานรักใคร่กลมเกลียวกันยิ่ง ๆ ขึ้น แม้ในวันพิธีมงคลที่สำคัญ ๆ ต่าง ๆ ขนม อี๊ ย่อมเป็นที่ขาดเสียมิได้
           โดยปกติแล้ว คนจีนมีความเชื่อเกี่ยวกับความมงคลเป็นหลัก อย่างสีโทนแดง ชมพู พวกนี้จะเป็นสีมงคลของคนจีนครับ แล้วบัวลอยนั้นคนจีนจะสื่อคล้าย ๆ กับความสามัคคีกลมเกลียว ปกติแล้วเวลาไหว้เจ้า หรือมีงานมงคลต่างๆๆ อย่างงานแต่งงานก็จะมีบัวลอยด้วยเช่นกัน ก็เลยไม่แปลกที่บัวลอยเป็นหนึ่งในขนมมงคล

ขนมอี๊ หรือขนมอี๊
 
         ขนมอี๊ (ขนมหวานจีน) ขนมมงคล อีกชนิดหนึ่งของคนจีน ที่รับประทานเพื่อความเป็น สิริมงคล ในโอกาสสำคัญต่างๆ เช่น พิธีแต่งงาน ที่เชื่อว่า การทานขนมอี๊ จะทำให้คนทั้งสองนั้นรักใคร่กลมเลียว เหนียวแน่น รวมถึง เทศกาลตรุษจีนหรือเปิดกิจการใหม่
         อี๊ หรือ อี๊ แปลว่ากลม ๆ ขนมอี๊ทำจากแป้งข้าวเหนียว นวดจนได้ที่เจือสีชมพู ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ต้มกับน้ำตาล เพื่อให้ชีวิตเคี้ยวง่ายราบรื่น เหมือนขนมอี๊ที่เคี้ยวง่ายและหวานใส ซึ่งขนมอี๊นี้อาจใช้เป็น สาคู หรือลูกเดือยก็ได้ คนจีนแต้จิ๋วเรียกว่าอี๊เหมือนกัน
        ขนมอี๊ดั้งเดิม ทำจากแป้งข้าวเหนียวใส่น้ำนิดหน่อยเอามาปั้นเป็นรูปต่าง ๆ ตามท้องถิ่น แล้วเอาไปต้มน้ำเดือด ใส่น้ำตาลรับประทานขณะที่ร้อนเพื่อกันหนาวได้ เดิมคงไม่ได้ใส่สี คงเป็นสีขาว ต่อมาได้พัฒนาไปตามกาลเวลา ได้มีการใส่ไส้ทั้งหวานและคาว ส่วนตัวแป้งผสมสีให้เป็นแป้งสีต่าง ๆ เช่น สีเขียว แดง เหลือง ขาว แล้วเอามาปั้น ต้มน้ำเดือด
       ขนมอี๊แตกต่างกันไปตามภูมิภาคของจีน เมื่อคนจีนอพยพไปอยู่ยังประเทศอื่น ก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นขนมอี๊อยู่ ด้วยการดัดแปลงส่วนผสมไปตามท้องถิ่นใหม่ที่หาวัสดุการทำง่าย แต่ก็ยังรักษาวัฒนธรรมของขนมอี๊ นั่นก็คือ ใช้แป้งข้าวเหนียวเอามาปั้นเป็นพื้น
       ขนมอี๊ของชาวภูเก็ตจะไม่ใส่ไส้ มีแป้งข้าวเหนียว สีผสมอาหาร น้ำเชื่อมทำจากน้ำ น้ำตาลแดงหรือน้ำตาลทรายขาวต้มใส่ขิงแก่หั่นเป็นแว่น ใส่ใบเตยหอม ส่วนแป้งใส่น้ำอุ่นพอปั้นได้ แล้วแบ่งเป็นส่วนๆเพื่อเติมสีต่างๆ นวดให้นิ่ม ปั้นเป็นลูกกลม ทำแม่อี๊ที่เรียกว่า อี๊โบ้ โดยปั้นให้ลูกใหญ่กว่าลูกอื่นๆ ตั้งน้ำให้เดือด เอาแป้งปั้นใส่ลงไป แป้งสุกจะลอยขึ้น ช้อนใส่ลงในน้ำเชื่อม เวลาตักเอาไปไหว้จะตักอีโบ้ลูกหนึ่ง ที่เหลือลูกเล็กกี่ลูกก็ได้
       ขนมอี๊ใส่ไส้ ส่วนที่ทำไส้ มีงาดำบด แป้งถั่ว เมล็ดพืช ผลไม้แห้งชนิดต่างๆ เอาไส้รวมกัน ปั้นเป็นลูกเล็ก ทำแป้งข้าวเหนียวให้ปั้นได้ เอาไส้ใส่ปั้นเป็นลูกกลม เอาไปต้ม ทอด หรือนึ่ง
       ขนมอี๊แบบคนอยู่เมืองฝรั่ง ไส้มีงาดำบด ใส่เนย น้ำตาลและเหล้าไวน์ แบ่งแป้งเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเอารวมกับไส้แล้วต้มนิดหน่อย ปั้นเป็นลูกกลม เอาแป้งข้าวเหนียวอีกครึ่งหนึ่งผสมน้ำ ปั้นเป็นแผ่น เอาไปใส่ในน้ำเดือดจนสุก ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วปั้นเป็นลูกกลม เจาะรูเอาไส้ใส่ปั้นให้กลมอีกครั้ง ใส่ลงไปในน้ำเดือด จนลอยตัวสุก ทิ้งต่อไว้สักหนึ่งนาที แล้วช้อนขึ้น
      ขนมอี๊ใส่ไส้อีกสูตรหนึ่ง ไส้มีงาดำบด ถั่วแดงบด ถั่วลิสงบด ปั้นเป็นลูกกลมทำเช่นเดียวกันคือเอาแป้งข้าวเหนียวห่อแล้วเอาไปต้มน้ำเดือด ใส่ในน้ำเชื่อม จะเป็นของหวาน ถ้าจะทำเป็นของคาว ให้ใส่ลูกชิ้นหมูทำไส้ ต้มน้ำเดือดจนสุกแล้วสงขึ้น เอาไปใส่ในน้ำต้มกระดูกหมูหรือกระดูกไก่หรือน้ำซุป แต่วิธีนี้ใช้ทำกินเอง ไม่ได้เอาไปไหว้เจ้า เช่นเดียวกับบัวลอย ซึ่งก็คือขนมอี๊ใส่น้ำกะทิ บางแห่งใส่ไข่ด้วย เป็นของกินเล่นเท่านั้น
      ปกติแล้วเวลาไหว้เจ้าควรต้มแบบน้ำตาล ถ้านำมาไหว้ น้ำเชื่อมต้องไม่ใส่ขิง  แต่หลังจากไหว้แล้วเพื่อความอร่อยชุ่มคอ ชื่นใจ แม่จะนำขิงหั่นแฉลบเป็นชิ้นและนำใบเตยมาใส่ด้วย ทำให้ หอมและทานอร่อยยิ่งขึ้น

สูตรวิธีทำขนมอี๊
เวลาเตรียม 10 นาที ปรุง 15 นาที
สำหรับ 4 ท่าน

1. แป้งข้าวเหนียว 1/2 กิโลกรัม
2. สีผสมอาหาร สีชมพู 2 หยด
3. น้ำตาลทราย 1 ถ้วย
4. ขิงแก่ 4 แว่น
5. เกลือ 1/2 ช้อนชา
6. น้ำ 10 ถ้วย
วิธีปรุง 
1. ต้มน้ำเชื่อม โดยต้มน้ำ 5 ถ้วย ด้วยไฟกลาง ใส่น้ำตาลทราย เกลือและขิง ลงไป รอจนเดือด แล้วจึงยกลง
2. ปั้นแป้งขนม โดย นำแป้งใส่อ่างผสม เทน้ำและสีผสมอาหารชมพูที่ละลายน้ำเล็กน้อยลงไป นวดให้เนียนเข้ากัน (ให้แบ่งแป้งไว้ปั้น สีขาว ด้วย)
3. ปั้น ด้วยการคลึงเป็นลูกกลมๆ ขนาด เท่า หัวนิ้วก้อย หรือ 5 มิลลิเมตร วางบนถาด หรือภาชนะทรงแบน ทีมีแป้งข้าวเหนียว โรยเอาไว้กันแป้งติดกัน
4. ต้มน้ำจนเดือด ใส่แป้งที่ปั้นไว้ลงไปในหม้อต้ม รอจนขนมสุกลอยขึ้นมา จึงช้อนใส่หม้อน้ำเชื่อม
5. ตักใส่ถ้วยขนมหวาน เสริฟ
คำแนะนำ
1. ต้มน้ำเชื่อม โดยต้มน้ำ 5 ถ้วย ด้วยไฟกลาง ใส่น้ำตาลทราย เกลือและขิง ลงไป รอจนเดือด แล้วจึงยกลง
2. ปั้นแป้งขนม โดย นำแป้งใส่อ่างผสม เทน้ำและสีผสมอาหารชมพูที่ละลายน้ำเล็กน้อยลงไป นวดให้เนียนเข้ากัน (ให้แบ่งแป้งไว้ปั้น สีขาว ด้วย)
3. ปั้น ด้วยการคลึงเป็นลูกกลมๆ ขนาด เท่า หัวนิ้วก้อย หรือ 5 มิลลิเมตร วางบนถาด หรือภาชนะทรงแบน ทีมีแป้งข้าวเหนียว โรยเอาไว้กันแป้งติดกัน
4. ต้มน้ำจนเดือด ใส่แป้งที่ปั้นไว้ลงไปในหม้อต้ม รอจนขนมสุกลอยขึ้นมา จึงช้อนใส่หม้อน้ำเชื่อม
5. ตักใส่ถ้วยขนมหวาน เสริฟ1. ขั้นตอนการต้ม ต้องหรี่ไฟให้อ่อน เพื่อไม่ให้ขนมลงไปติดก้นหม้อ แล้วไม่ลอยขึ้นมา
2. ความเหนียวของขนมจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับชนิดของแป้งข้าวเหนียวที่ใช้
3. หากต้องการมีหลายสี ก็ใช้ส่วนผสมสีต่างๆได้ ตามต้องการ เช่น สีเขียว จากใบเตย
4. สีชมพู ควรใช้เพียงเล็กน้อย ไม่ควรให้สีออกมาแดงจัด จะไม่น่าทาน



ภาพและเนื้อหา เรียบเรียงจาก
trueplookpanya.com