HOME SAFE กับวิถีมังกร (ประวัติความเป็นมา เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง(端午节 ตวนอู่เจี๋ย))



เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง(端午节 ตวนอู่เจี๋ย) article

                      
     เทศกาล บ๊ะจ่าง” (端午节 ตวนอู่เจี๋ยหรือ เทศกาลตวงโหงวเป็นเทศกาลที่สืบทอดกันมาแต่โบราณของประเทศจีน  
ซี่งปีนี้ตรงกับวันที่ 28 พฤษภาคม 2552หลายคนอาจสงสัยว่าตำนานของเทศกาล บ๊ะจ่าง” มาจากไหน 
ใครเป็นคนกำหนด เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่ และ มีความสำคัญอย่างไรกับประชาชนชาวจีน
     เทศกาล บ๊ะจ่าง ??” หรือ หรือเทศกาลไหว้ ขนมจ้าง” เป็นเทศกาลของชาวจีน ตรงกับวันที่ เดือน ตามของปฏิทินจีน
 เรียกชื่อตามตำราว่า โหงวเหว่ยโจ่ย“ บ๊ะจ่างนี้คนจีนจะเรียกว่า จั่ง粽子(จ้งจึ)” แม่บ้านที่มีฝีมือจะลงมือทําขนมจ้างเอง เรียกว่า ปักจั่ง“ 

    เทศกาลบ๊ะจ่างเป็น 1 ใน 3 เทศกาลสำคัญของชาวจีน คือเทศกาลตรุษจีน เทศกาลไหว้พระจันทร์ และเทศกาลบ๊ะจ่าง 
ซึ่งชาวจีนทั้งแผ่นดินใหญ่แล้วชาวจีนในประเทศต่างๆ ต่างให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

    ตํานานเทศกาลไหว้ขนมจ้าง เป็นเรื่องราวในประวัติศาสตร์ ซึ่งเกิดขึ้นประมาณปี พ.ศ. ๒๖๘  ในรัชสมัยของกษัตริย์ก๊กฉู่ 
มีขุนนางผู้หนึ่งนามว่า คุกง้วน“ หรือ ชีหยวน หรือ จูหยวน 屈原, Qu Yuan ( 340-278 ปีก่อนคริสต์ศักราช )  ซึ่งเป็นขุนนางตงฉิน
 รับราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต  ถือเอาประโยชน์ของราษฎรเป็นที่ตั้ง คุกง้วนจึงเป็นที่รักใคร่ของประชาชน 
แต่ก็ถูกขุนนางกังฉินคอยใส่ร้ายป้ายสีต่อองค์ฮ่องเต้เสมอๆ
                         

               “คุกง้วน“ หรือ ชีหยวน หรือ จูหยวน 屈原, Qu Yuan

   จนในที่สุดฮ่องเต้หูเบาก็หลงเชื่อ สั่งให้เนรเทศคุกง้วน ออกจากเมืองไป ระหว่างที่ร่อนเร่พเนจรอยู่นั้น คุกง้วน 
ก็ได้แต่งบทกลอนเล่าถึงชีวิตที่รันทดและความอยุติธรรมของฮ่องเต้ไว้มากมาย พอความทราบถึงฮ่องเต้ ก็ยิ่งทรงพิโรธหนักเข้าไปอีก
 ส่วนคุกง้วนก็ยังอดรนทนไม่ได้ ที่จะกราบทูลเสนอแนะข้อราชการที่เป็นประโยชน์กับทางราชการให้กับองค์ฮ่องเต้
 แต่ฮ่องเต้ก็ไม่ทรงสนพระทัยคุกง้วนเลยแม้แต่น้อย
   ขุนนางคุกง้วน น้อยอกน้อยใจมาก เลยไปกระโดดน้ำตายที่แม่น้ำไหม่โหลย ในมณฑลยูนนาน ซึ่งตรงกับวันที่ เดือน นั่นเอง
(บางตำราก็ว่ากระโดดน้ำที่ แม่น้ำเปาะล่อกัง  บางตำราว่าเป็นแม่น้ำแยงซีเกียง)
   พอพวกชาวบ้านรู้ข่าว  ก็พากันไปช่วยงมหาศพ แต่หาศพเท่าไหร่ก็หาไม่พบ ชาวบ้านเลยเอาข้าวโปรยลงไปในน้ำพร้อมกับอธิฐาน
 ขออย่าให้ พวกปูปลามากัดกินศพของคุกง้วนเลย กินแต่ข้าวที่โปรยไว้ให้ก็พอ
   จากนั้นเป็นต้นมา ในแต่ละปีชาวเมืองเสฉวนซึ่งอยู่ติดกับมณฑลยูนนาน ที่ซึ่งคุกง้วนไปกระโดดน้ำตาย
 ก็จะมาร่วมกันระลึกถึงขุนนางผู้ซื่อสัตย์คนนี้ ด้วยการเอาใบจ่างมาห่อข้าวและกับ เมื่อห่อเรียบร้อยแล้วจึงเอาไปโยนลงน้ำ
 และนี่เองจึงเป็นที่มาของ เทศกาลไหว้ขนมจ้าง ที่ยังคงความศักดิ์สิทธิ์มาจนถึงปัจจุบัน
    จากตำนานเล่าขาน กลายเป็นประเพณีการไหว้โหงวเหว่ยโจ่ว ซึ่งจะมีในช่วงเดือน ของจีน ตรงกับฤดูร้อน 
ช่วงนี้จะมีการไหว้เจ้าด้วยขนมบะจ่าง สาเหตุที่ไหว้ด้วยขนมบ๊ะจ่าง เพราะเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน อาหารมักเก็บได้ไม่นาน เน่าเสียง่าย 
แต่บะจ่างที่ทำจากข้าวเหนียวสามารถเก็บไว้ได้นานมากขึ้น และการไหว้ด้วยขนมบ๊ะจ่างในช่วงฤดูร้อนจะทำให้มีความเป็นอยู่ดี 
เมื่อไหว้เสร็จคนจีนจะเอาไปชุบน้ำตาลทรายขาว หรือน้ำตาลทรายแดงเพื่อนำมารับประทาน อันถือว่าจะทำให้เกิดสิ่งมงคลต่าง ๆ
    นักวิชาการบางท่านยังมีความเห็นประการอื่นเกี่ยวกับที่มาของเทศกาลไหว้บะ จ่าง ในหนังสือรวมบทความของท่านเหวินยีตัว 
กล่าวว่า การที่มีการแข่งเรือ
 และรับประทานบ๊ะจ่างในเทศกาลไหว้บะจ่างนั้น ต่างก็มีความสัมพันธ์กับมังกร เทศกาลไหว้บะจ่างที่จริงแล้วคือเทศกาลมังกร 
เป็นเทศกาลพิเศษเพื่อที่จะระลึกถึงมังกร
      ยังมีนักวิชาการบางคนเห็น ว่า เทศกาลไหว้บะจ่างนี้มีที่มาจากตำนานวันที่ไม่เป็นมงคล จากบันทึกในตำรา โบราณกล่าวว่า
 ชาวบ้านต่างก็มีคำกล่าวว่า ไม่ควรกล่าวถึงเดือน 5  และไม่เลี้ยงเด็กที่เกิดเดือน อีกด้วย ตำนานกล่าวว่าในสมัยจั้นกว๋อ เมิ่งฉางจวิน 
แห่งรัฐฉีเกิดในวันที่ เดือน บิดาไม่ให้เลี้ยงไว้ และนำไปทิ้งเสีย เนื่องจากเหตุผลที่ว่าเขาเกิดในวันที่ไม่เป็นมงคล 
ในขณะที่เมิ่งฉางจวินเสียชีวิต คุกง้วนยังคงมีชีวิตอยู่ ดังนั้นจึงได้ให้วันที่ เดือน เป็นวันที่ระลึกถึงสิ่งอันไม่เป็นมงคล 
เห็นได้ชัดว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกับคุกง้วนแม้แต่น้อย นอกจากนี้ อ้ายเฮา และชางผู่
 ต่างก็เป็นหญ้าสมุนไพร การที่นำหญ้าทั้ง ชนิดนี้แขวนไว้ที่ประตูเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้าย เป็นคำกล่าวที่สมเหตุสมผลมากกว่า 
ความเชื่อที่ว่าเพื่อใช้เรียกวิญญาณคุกง้วนให้มาปรากฏกายมากนักแน่นอนว่า ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึงเทศกาลไหว้บะจ่าง
 เรื่องราวที่ผู้คนจะนึกถึงเป็นสิ่งแรก ก็ยังคงเป็นเรื่องของคุกง้วนอยู่นั่นเอง
     เทศกาล ของการไหว้บะจ่าง คนจีนจะไหว้ในตอนเช้า โดยไหว้ด้วยธูป ดอก หรือ ดอก การไหว้ด้วยธูป ดอก เพื่อระลึกถึงครูบาอาจารย์ 
พ่อแม่ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จะเข้าหลัก ธาตุ หรือ โหงวเฮ้ง ของจีน ประกอบด้วย ธาตุดิน ทอง น้ำ ไม้ และไฟ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวกับวิถีชีวิตโดยตรง
   ในเมืองจีนยังคงความขลังตามประเพณีดั้งเดิมอยู่ โดยเขาจะเอาของไปไหว้ที่ริมแม่น้ำแล้วโยนขนมจ้างลงน้ำไปด้วย แต่ถ้าเป็นการไหว้ในไทย 
ช่วงเช้าก็จะไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ แต่ที่พิเศษหน่อยก็ตรงที่มี บ๊ะจ่าง” เพิ่มเข้ามาด้วย ซึ่งก็แล้วแต่ว่าบ้านไหนจะทำเอง หรือซื้อหามาจากร้านค้า