HOME SAFE กับวิถีมังกร (ประวัติความเป็นมา วันเชงเม้ง – ประเพณีที่ลูกหลานชาวจีนควรรู้)



เชงเม้ง – ประเพณีที่ลูกหลานชาวจีนควรรู้ article

                    
ชิงหมิง   
    (qing-ming, อักษรจีนตัวเต็ม清明節, อักษรจีนตัวย่อ清明节, พินอินQīngmíngjié) หรือ เช็งเม้งเชงเม้ง (ตามสำเนียงแต้จิ๋ว) “เช็ง” หมายถึง สะอาด บริสุทธิ์ และ “เม้ง” หมายถึง สว่าง รวมแล้วหมายความถึง ช่วงเวลาแห่งความแจ่มใส รื่นรมย์
    เช็งเม้ง หรือ เชงเม้ง ในประเทศจีน เริ่มต้นประมาณ 5 – 20 เมษายน เป็นฤดูใบไม้ผลิ อากาศจะคลายความหนาวเย็น เริ่มเข้าสู่ความอบอุ่น มีฝนตกปรอย ๆ มีบรรยากาศสดชื่น ท้องฟ้าใสสว่าง (เป็นที่มาของชื่อ เช็งเม้ง)
    สำหรับในประเทศไทยเทศกาลเช็งเม้ง ถือวันที่ 5 เมษายนของทุกปีเป็นหลัก แล้วนับวันก่อนถึง 3 วัน และเลยไปอีก 3 วัน รวมเป็น 7 วัน (2 – 8 เมษายน) แต่ในปัจจุบันเนื่องจากมีปัญหาการจราจรคับคั่ง เลยขยายช่วงเวลาเทศกาลให้เร็วขึ้นอีก 3 สัปดาห์ (ประมาณ 15 มีนาคม – 8 เมษายน) แต่ในภาคใต้บางพื้นที่ เช่น จังหวัดตรังจะจัดเร็วกว่าที่อื่น 1 วัน ประมาณวันที่ 4 เมษายนของทุกปี
   ประเพณีที่สำคัญมากที่สุดของของชาวจีน คือ ไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน (ฮวงซุ้ย) เป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยมีอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อ ที่เน้นเรื่องความกตัญญูเป็นสำคัญ

ตำนานการเกิดเชงเม้ง
    ในยุคชุนชิว องค์ชายฉงเอ่อแห่งแคว้นจิ้นหนีภัยออกนอกแคว้น ไปมีชีวิตตกระกำลำบากนอกเมือง โดยมี เจี้ยจื่อทุย ติดตามไปดูแลรับใช้
    เจี้ยจื่อทุย มีจิตใจเมตตาถึงขนาดเชือดเนื้อที่ขาของตนเป็นอาหารให้องค์ชายเสวยเพื่อประทังชีวิต ภายหลังเมื่อองค์ชายฉงเอ่อเสด็จกลับเข้าแคว้นและได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองแคว้น นาม จิ้นเหวินกง และได้สถาปนาตอบแทนขุนนางทุกคนที่เคยให้ความช่วยเหลือตน แต่ลืมเจี้ยจื่อทุยไป นานวันเข้าจึงมีคนเตือนถึงบุญคุณเจี้ยจื่อทุย จิ้นเหวินกงเพิ่งนึกขึ้นไป จึงต้องการตอบแทนบุญคุณเจี้ยจื่อทุย โดยจัดหาบ้านให้เขาและมารดาให้เข้ามาอยู่อย่างสุขสบายในเมือง แต่ทว่าเจี้ยจื่อทุยปฏิเสธ
    จิ้นเหวินกงได้คิดแผนเผาภูเขา โดยหวังว่าเจี้ยจื่อทุยจะพามารดาออกมาจากบ้าน แต่ผลสุดท้ายกลับไม่เป็นไปอย่างที่คิด สองแม่ลูกกลับต้องเสียชีวิตในกองเพลิง ดังนั้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงเจี้ยจื่อทุย จิ้นเหวินกงจึงมีคำสั่งให้วันนี้ของทุกปี ห้ามไม่ให้มีการก่อไฟ และให้รับประทานแต่อาหารสด ๆ และเย็น ๆ จนกลายเป็นที่มาของเทศกาลวันกินอาหารเย็น หรือ เทศกาลหันสือเจี๋ย (寒食节) ซึ่งเป็นวันสุกดิบก่อนวันเช็งเม้ง 1 วัน
เนื่องจากคนโบราณนิยมถือปฏิบัติกิจกรรมตามประเพณีวันหันสือเจี๋ยต่อเนื่องไปจนถึงวันเช็งเม้ง นานวันเข้าเทศกาลทั้งสองก็รวมเป็นวันเช็งเม้งวันเดียว การไหว้เจี้ยจื่อทุยจึงค่อย ๆ เปลี่ยนมาเป็นการไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษแทน

เทศกาลเช็งเม้ง

   ประเพณีที่สำคัญมากที่สุดของของชาวจีน คือ ไหว้บรรพบุรุษ ที่ สุสาน (ฮวงซุ้ย หรือ ฮวงจุ้ย ) เทศกาล “ เชงเม้ง ” เป็นเทศกาลประจำปีในการบูชาและแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วของชาวจีน  ก่อนวันพิธีจะมีการทำความสะอาดหลุมฝังศพของบรรพบุรุษ หลังจากนั้นในวันพิธีจะมีการเซ่นไหว้อาหารหวานคาว ที่หลุมฝังศพ เพื่อเป็นการ รำลึกถึงคุณงามความดีของบรรพบุรุษ และเป็นการส่งอาหารให้ทุกปี เพื่อมิให้อดอยาก เมื่อไปอยู่อีกภพหนึ่ง คนจีนส่วนใหญ่ จะหยุดงานมาร่วมพิธีกัน พร้อมหน้าพร้อมตา หรือถือว่าเป็นวันพบญาติของคนจีนก็ว่าได้
การบูชาบรรพบุรุษ (Ance stor Worship) และการไว้ทุกข์ (Mourning) ถือเป็นพิธีกรรมที่สำคัญที่สุดพิธีกรรมหนึ่งของชาวจีน และปฏิบัติกันแพร่หลายสืบมาหลายพันปีจวบจนทุกวันนี้ แม้ว่าการไว้ทุกข์และการบูชาบรรพบุรุษจะเป็นความเชื่อดั้งเดิมของชาวจีน แต่ก็ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากปรัชญาขงจื้อ เพราะขงจื้อถือว่าเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามในการปลูกฝังความกตัญญูกตเวทีแก่ชนรุ่นหลัง เป็นโอกาสที่พี่น้องลูกหลานจะมาพบปะกัน และประเพณีก็เป็นเครื่องร้อยรัดผู้คนในสังคมเข้าไว้ด้วยกัน ขงจื้อจึงมองเทศกาล “ เชงเม้ง ” ในแง่ของจริยธรรมทางสังคม มากกว่าในแง่อภิปรัชญาเรื่องชีวิตหลังความตาย

ประเพณีการทำความสะอาดฮวงซุ้ย
เริ่มมาจากการที่พระเจ้าฮั่นเกาจู ปราบดาภิเษกและสถาปนาราชวงศ์ฮั่นขึ้นแล้ว เกิดระลึกถึงบุญคุณบิดา มารดาที่เสียชีวิตไปแล้วที่บ้านเกิด จึงเร่งรัดกลับบ้านเกิด แต่ทว่าป้ายชื่อของฮวงซุ้ยแต่ละที่เลือนลางเต็มทน จากสงคราม พระเจ้าฮั่นเกาจูจึงอธิฐานต่อสวรรค์ด้วยการโปรยกระดาษสีขึ้นบนฟ้าแล้วให้ลมพัดปลิวไป ถ้ากระดาษตกที่ฮวงซุ้ยไหน ถือว่าเป็นฮวงซุ้ยของบิดา มารดาพระองค์ และเมื่อดูป้ายชื่อชัด ๆ แล้วก็พบว่าเป็นฮวงซุ้ยของบิดา มารดาพระองค์จริง ประเพณีการทำความสะอาดฮวงซุ้ยและโปรยกระดาษสีบนหลุ่มศพก็เริ่มมาจากตรงนี้เอง

ประโยชน์ของการไป ไหว้บรรพบุรุษ เทศกาลเชงเม้ง
1.    เพื่อรำลึกถึงคุณความดี ที่บรรพบุรุษของเราได้กระทำไว้ ได้ดูแลเรา
ลำบากเพื่ื่อเราให้มีความเป็นอยู่ที่ดี เป็นแบบอย่างการดำเนินชีวิต
"เราสบาย เพราะพ่อแม่ บรรพบุรุษลำบาก"
2.    เป็นศูนย์รวมตระกูล ผังตระกูล 
โดยทั่วไป การไหว้ที่ดีที่สุด ต้องนัดหมายไปไหว้พร้อมกัน ( วันและเวลาเดียวกัน )
ทำให้ลูกหลานที่อยู่กระจายกันไป ได้มาพบปะ สังสรรค์กันพร้อมหน้า
เป็นการสร้างความสามัคคี สร้างจุดศูนย์รวม กล่าวได้ว่าเป็น วันรวมญาติ
3.    เป็นกรอบถนนชีวิตของลูกหลานทุกคน "พ่อแม่ตายแล้ว ยังกำหนดชะตาชีวิตลูกหลาน"
เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต เน้นความกตัญญูที่มีต่อบุพการีและลูกหลานควรปฏิบัติตาม
4.    เป็นการเตือนสติตน ความตายต้องเกิดขึ้นกับทุกคน และเป็นธรรมดาของมนุษย์ปุถุชน
ประเพณีปฏิบัติในวัน เช็งเม้ง
1.    การทำความสะอาด สุสาน ( เซ้าหมอ )
ลงสีที่ป้ายชื่อให้ดูใหม่ - คนตายแล้วลงสีเขียว หรือสีทองขลิบเขียว คนเป็นลงสีแดง
ห้ามถอนหญ้า - อาจกระทบตำแหน่งห้าม
เช่น ทิศอสูร ทิศแตกสลาย ทิศดาวเบญจภูติ )
บ้างก็ตกแต่งด้วย กระดาษม้วนสายรุ้ง
สุสานคนเป็น - แซกี - ใช้สายรุ้งสีแดง :: สุสานคนตาย - ฮกกี - ใช้หลากสีได้ )
ห้ามปักธง ลงบนหลังเต่า เท่ากับทิ่มแทงหลุม
และบางความเชื่อ ทำให้หลังคาบ้านของบรรพบุรุษรั่ว
2.    กราบไหว้ เจ้าที่ เป็นการให้เกียรติ และขอบคุณที่ช่วยคุ้มครองดูแล
การจัดวางของไหว้ ( เรียงลำดับจากป้าย )
1.    เทียน คู่ + ธูป ดอก ( อาจปักลงบนฟักได้ )
2.    ชา ถ้วย
3.    เหล้า ถ้วย
4.    ของไหว้ต่าง ๆ เช่น ขนมอี๋ ผลไม้
*** ควรงดเนื้อหมู - เพราะเคยมีปรากฎว่า เจ้าที่เป็นอิสลาม ***
5.    กระดาษเงิน กระดาษทอง
กราบไหว้ ระลึกถึงพระคุณ ของพ่อแม่ บรรพบุรษ
ตั้งเครื่องบูชาเซ่นไหว้ดวงวิญญาณของท่าน
การจัดวางของไหว้ ( เรียงลำดับจากป้าย - จะต่างกับข้างต้น )
6.   ชา ถ้วย
7.  เหล้า ถ้วย
8.   ของไหว้ต่าง ๆ เช่น ขนมอี๋ ผลไม้
ของไหว้ ตามความเชื่อประเพณีของแต่ละท้องถิ่น ส่วนใหญ่เป็น ขนมถ้วยฟู - ฮวกก้วย *
9.  กระดาษเงิน กระดาษทอง ฯลฯ
10.  เทียน คู่ + ธูป ตามจำนวนบรรพบุรุษ ท่านละ ดอก
หมายเหตุ
*** ห้ามวางของตรงแท่นหน้า เจีี๊ยะปี ( ป้ายหิน ที่จารึกชื่อ บรรพบุรุษ )
เพราะเป็นที่เข้าออกของ วิญญาณบรรพบุรุษ ไม่ใช่เก้าอี้นั่ง อย่างที่หลายคนเข้าใจผิด***
พิธีเช็งเม้ง
ผู้อาวุโส เป็นผู้นำกราบ ไหว้จนเทียนใกล้หมดก้าน

ลูกหลาน
ตีวงล้อมด้วยหวาย เผา กระดาษเงิน กระดาษทอง ฯลฯ
เป็นการกำหนดขอบเขตว่า สิ่งเหล่านี้ลูกหลานส่งให้ บรรพบุรุษของครอบครัว นั้น ๆ เป็นการเฉพาะ
ป้องกันการแย่งชิง ( ผู้ตีวงล้อม ต้องเป็นลูกหลานเท่านั้น ) *** เป็นอันเสร็จพิธี

บางครอบครัวก็จะมานั่งล้อมวงทานอาหารกันต่อ เพื่อเป็นการ
แสดงความสมานสามัคคีแก่ บรรพบุรุษ

ความเชื่อและข้อเท็จจริงตาม หลักฮวงจุ้ย
1.    เมื่อทานหอยแครงเสร็จ จะโยนเปลือกหอยแครง
ลงบนเนินหลังเต่า
เนินดินด้านหลัง ป้ายสุสานบรรพบุรุษ ) ความหมายคือ มีลูกหลานมาก 
ประเด็นนี้ ไม่ขัดกับหลักวิชา
2.    ทุกครั้งที่มาไหว้ จะขุดเอาดินมากลบบนหลังเต่า โดยเชื่อว่า จะทำให้การค้าเพิ่มพูน
ข้อเท็จจริง : จะทำก็ต่อเมื่อ หลังเต่ามีรูแหว่งไป จึงซ่อมแซม และต้องดูฤกษ์
โดยเฉพาะการขุดดิน ถือเป็นการกระทบธรณี
3.    ปลูกดอกไม้ รอบๆ สุสานบรรพบุรุษ
ข้อเท็จจริง : ห้ามปลูกดอกไม้ รอบๆ สุสานบรรพบุรุษ มีความหมายด้าน ชู้สาว
แต่ปลูกหญ้าได้
4.    หากต้องการซ่อมแซม สุสานบรรพบุรุษ ทำได้เฉพาะ สารทเช็งเม้ง เท่านั้น
ข้อเท็จจริง : ไม่จำเป็นต้องเป็น เทศกาลเช็งเม้ง ขึ้นอยู่กับฤกษ์
หากทำในสารทนี้โดยไม่ดูฤกษ์ กลับจะเกิดโทษภัยจาก อสูร
5.    จุดประทัด เพื่อกำจัดผีร้ายให้พ้นไป
ข้อเท็จจริง : ตามหลักวิชา การจุดประทัด เป็นการกระตุ้น
หากตำแหน่งถูกต้อง ก็จะได้ลาภ หากผิดตำแหน่ง จะเกิดปัญหา

ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจเรื่อง ดาว ยุค และฤกษ์ เป็นอย่างดี )
6.    บางครอบครัวต้องการประหยัด จัดอาหารไหว้เพียง ชุด ไหว้หลายแห่ง ข้อเท็จจริง : ทำเช่นนี้ไม่ถูกต้อง บรรพบุรุษ ชุดแรกสุดเท่านั้นที่ได้รับ
7.    บางคนเชื่อว่า จะไม่เผากระดาษทองให้กับ บรรพบุรุษ
นอกจากตายมานานแล้ว ถือว่าได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นเทพ
ข้อเท็จจริง : ตามประเพณีโดยทั่วไปไม่มี
8.    การไว้ทุกข์พ่อแม่ ต้องนาน ปีข้อเท็จจริง : ประเพณีบางท้องถิ่น กำหนดเช่นนั้นจริง
โดยเน้นเรื่องความกตัญญูเป็นหลัก
9.    การไป ไหว้บรรพบรุษ ครั้งแรก ต้องดูฤกษ์ ข้อเท็จจริง : เป็นเรื่องถูกต้องตามหลักวิชา ฮวงจุ้ย
โดยปกติแล้ว ซินแส จะเป็นผู้กำหนดฤกษ์ให้
หากทิศด้านหลัง สุสาน เป็นทิศห้าม ทิศอสูร ทิศแตกสลาย
*** ต้องใช้ฤกษ์ปลอดภัยเท่านั้น
 ***

และไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นช่วง เช็งเม้ง เท่านั้น
ปีต่อ ๆ ไป ไม่ต้องมีการ ดูฤกษ์ อีก

เทศกาล ใน การไหว้บรรพบุรุษ
สารท
ราศีเดือน
ห้ามทิศ
ชง ปะทะ )
ห้ามทิศด้านหลัง
สุสาน
ชุนฮุน
( 21 มีนา - เมษ )
/4
/10
( 270 +/- 15 องศา )
ทิศตะวันตก
เช็งเม้ง
( 5 เมษ - 20 เมษ )
/5
/11
( 300 +/- 15 )
ทิศใต้
ตังโจ่ย
( 22 ธค. - มค. )
/1
/7
( 180 +/- 15 )
ทิศใต้

ในทุกวันนี้เราจะพบเห็นลูกหลานชาวจีนทั้งหลายไม่ว่าจะในท้องถิ่นใด เดินทางไปที่สุสานอากงอาม่าของพวกเขา เพื่อเก็บหญ้าล้างสุสาน ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นบ้านที่อยู่อาศัยของบรรพบุรุษ และไปวางเครื่องเซ่นไหว้ประกอบพิธี รวมทั้งประดับตกแต่งสุสานด้วยดอกไม้ กระดาษสี เช่นที่พบเห็นในเมืองไทย
     
       สำหรับชาวจีนรุ่นใหม่ที่นิยมเผาศพแทนการฝัง ก็จะไปไหว้บรรพบุรุษตามสถานที่ที่บรรจุอัฐิแทน ส่วนชาวจีนโพ้นทะเลที่สิงคโปร์นิยมไปไหว้ป้ายศพของบรรพบุรุษที่วัด ชาวจีนบางถิ่นก็ไหว้ที่บ้าน
     
       แม้ว่ารูปแบบการไหว้ของชาวจีนในถิ่นต่างๆจะแตกต่างกันไป แต่ความหมายที่แท้จริงของวันเช็งเม้งก็คงยังไม่หลีกหนีไปจากการรำลึกถึงปู่ย่าตาทวด ซึ่งความสำคัญนี้จะยิ่งทวีความหมายยิ่งขึ้น  หากว่าลูกหลานคนรุ่นหลังจะได้รับรู้ถึงประวัติชีวิตที่ผ่านมาของบรรพบุรุษของตน  และตระหนักถึงความยากลำบากของพวกท่าน ก่อนที่ตนจะได้รับความสุขสบายในวันนี้ .